ประเทศโรมาเนีย
โรมาเนีย România (โรมาเนีย) | |
---|---|
ที่ตั้งของ ประเทศโรมาเนีย (เขียวเข้ม) – ในทวีปยุโรป (เขียว & เทาเข้ม) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | บูคาเรสต์ 44°25′N 26°06′E / 44.417°N 26.100°E |
ภาษาราชการ | โรมาเนีย[1] |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการรับรอง[2] | |
กลุ่มชาติพันธุ์ (ค.ศ. 2011)[3] | |
ศาสนา (ค.ศ. 2011)[4] |
|
เดมะนิม | ชาวโรมาเนีย |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี |
กลาอุส ยอฮานิส | |
มาร์เชล ชอลากู | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
• สภาสูง | วุฒิสภา |
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร |
ประวัติการก่อตั้ง | |
24 มกราคม ค.ศ. 1859 | |
9 พฤษภาคม ค.ศ. 1877/1878 | |
ค.ศ. 1918/1920 | |
30 ธันวาคม ค.ศ. 1947 | |
27 ธันวาคม ค.ศ. 1989[5][6][7] | |
พื้นที่ | |
• รวม | 238,397 ตารางกิโลเมตร (92,046 ตารางไมล์) (อันดับที่ 81) |
3 | |
ประชากร | |
• 1 มกราคม ค.ศ. 2021 ประมาณ | 19,186,201[8][9] (อันดับที่ 61) |
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2011 | 20,121,641[3] |
80.4 ต่อตารางกิโลเมตร (208.2 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 136) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2022 (ประมาณ) |
• รวม | 704,355 ล้านดอลลาร์[10] (อันดับที่ 36) |
• ต่อหัว | 36,446 ดอลลาร์[10] (อันดับที่ 66) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2022 (ประมาณ) |
• รวม | 314,876 ล้านดอลลาร์[10] (อันดับที่ 47) |
• ต่อหัว | 16,293 ดอลลาร์[10] (อันดับที่ 56) |
จีนี (ค.ศ. 2020) | 33.8[11] ปานกลาง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) | 0.828[12] สูงมาก · อันดับที่ 49 |
สกุลเงิน | เลวูโรมาเนีย (RON) |
เขตเวลา | UTC+2 (EET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+3 (EEST) |
รูปแบบวันที่ | วว.ดด.ปปปป (ค.ศ.) |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +40 |
รหัส ISO 3166 | RO |
โดเมนบนสุด | .roa |
|
โรมาเนีย (อังกฤษ: Romania; โรมาเนีย: România, ออกเสียง: [romɨˈni.a] ( ฟังเสียง)) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บริเวณทางแยกระหว่างยุโรปกลาง, ยุโรปตะวันออก และยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมอลโดวาทางทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศยูเครนทางทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศฮังการีทางทิศตะวันตก ติดต่อกับประเทศเซอร์เบียทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับประเทศบัลแกเรียทางทิศใต้ และจรดทะเลดำทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีภูมิอากาศภาคพื้นทวีปเขตอบอุ่นเป็นหลัก มีเนื้อที่ 238,397 ตารางกิโลเมตร (92,046 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 19 ล้านคน โรมาเนียเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ในยุโรปและเป็นรัฐสมาชิกที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของสหภาพยุโรป เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือบูคาเรสต์ เขตเมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ยัช, กลุฌ-นาปอกา, ตีมีชออารา, กอนสตันซา, กรายอวา, บราชอฟ และกาลัตส์
แม่น้ำดานูบซึ่งเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของยุโรป มีต้นกำเนิดอยู่ในป่าดำของประเทศเยอรมนีและไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะทาง 2,857 กิโลเมตร (1,775 ไมล์) ก่อนไหลลงสู่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบของโรมาเนีย เทือกเขาคาร์เพเทียนซึ่งพาดผ่านโรมาเนียจากทิศเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่ตั้งของยอดเขามอลดอเวอานูซึ่งมีระดับความสูง 2,544 เมตร (8,346 ฟุต)[13]
โรมาเนียได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1859 ผ่านการรวมกันระหว่างราชรัฐมอลเดเวียกับราชรัฐวอลเลเกียแห่งลุ่มน้ำดานูบ รัฐใหม่ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าโรมาเนียตั้งแต่ ค.ศ. 1866 ได้รับเอกราชจากจักรวรรดิออตโตมันใน ค.ศ. 1877[14] ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากประกาศความเป็นกลางใน ค.ศ. 1914 โรมาเนียได้ต่อสู้ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งแต่ ค.ศ. 1916 เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ภูมิภาคบูโควีนา, เบสซาเรเบีย, ทรานซิลเวเนีย และบางส่วนของภูมิภาคบานัต, กรีชานา และมารามูเรชกลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรโรมาเนีย[15] ในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ค.ศ. 1940 ด้วยผลของกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพและรางวัลเวียนนาครั้งที่ 2 โรมาเนียจำต้องยกเบสซาเรเบียและตอนเหนือของบูโควีนาให้แก่สหภาพโซเวียต และยกตอนเหนือของทรานซิลเวเนียให้แก่ฮังการี ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1940 โรมาเนียลงนามในกติกาสัญญาไตรภาคี และด้วยเหตุนี้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 จึงเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ร่วมกับฝ่ายอักษะ โดยต่อสู้กับสหภาพโซเวียตจนถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 จากนั้นก็เปลี่ยนมาเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรและได้ครอบครองตอนเหนือของทรานซิลเวเนีย หลังสงครามและการยึดครองของกองทัพแดง โรมาเนียได้กลายเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมและเป็นสมาชิกกติกาสัญญาวอร์ซอ หลังการปฏิวัติใน ค.ศ. 1989 โรมาเนียเริ่มเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี
โรมาเนียเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีเศรษฐกิจรายได้สูง[16] อยู่ในอันดับที่ 49 ในดัชนีการพัฒนามนุษย์ มีระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 47 ของโลกตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (ราคาตลาด) โรมาเนียมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 โดยเศรษฐกิจในปัจจุบันขึ้นอยู่กับภาคบริการเป็นหลัก นอกจากนี้ยังเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกสุทธิของเครื่องจักรและพลังงานไฟฟ้าผ่านบริษัทอย่างอาวูตอมอบีเลดาชียาและออเอมเว เปตรอม เป็นต้น โรมาเนียเป็นสมาชิกสหประชาชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1955 เป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือตั้งแต่ ค.ศ. 2004 และเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่ ค.ศ. 2007 ประชากรส่วนใหญ่ของโรมาเนียเป็นกลุ่มชาติพันธุ์โรมาเนีย นับถือศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และพูดภาษาโรมาเนียซึ่งเป็นภาษากลุ่มโรมานซ์
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ชื่อ "โรมาเนีย" แผลงมาจากคำว่า รอมึน (român) ซึ่งเป็นชื่อในท้องถิ่นที่ใช้เรียกชาวโรมาเนีย โดยแผลงมาจากคำว่า โรมานุส (romanus) ซึ่งแปลว่า "ชาวโรมัน" หรือ "จากโรม"[17] ในภาษาละตินอีกทอดหนึ่ง ชื่อชาติพันธุ์โรมาเนียดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ยืนยันเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยนักมนุษยนิยมชาวอิตาลีที่เดินทางอยู่ในทรานซิลเวเนีย, มอลเดเวีย และวอลเลเกีย[18][19][20] เอกสารที่เขียนเป็นภาษาโรมาเนียที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่เป็นจดหมายที่เขียนขึ้นใน ค.ศ. 1521 และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "จดหมายของเนอักชูจากกึมปูลุงก์" (Scrisoarea lui Neacșu din Câmpulung)[21] มีความโดดเด่นเนื่องจากเป็นเอกสารที่ปรากฏการใช้ศัพท์ โรมาเนีย ในชื่อประเทศเป็นครั้งแรก โดยผู้เขียนจดหมายฉบับนี้เรียกภูมิภาควอลเลเกียเป็นภาษาโรมาเนียว่า เซอารารูมือเนอัสเกอ (Țeara Rumânească)
ภูมิศาสตร์
[แก้]โรมาเนียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีเทือกเขาทรานซิลเวเนียแอลป์อยู่ทางตอนกลางของประเทศ และมีเทือกเขาคาร์เพเทียนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีที่ราบทางตอนใต้ของเทือกเขาทรานซิลเวเนียแอลป์เป็นที่ทางการเกษตรเรียกว่า วอลเลเกีย
โรมาเนียจัดเป็นประเทศที่ยังมีความหลากหลายทางธรรมชาติอยู่มาก โดยทางเมืองแถบทรานซิลเวเนียแอลป์ยังมีสัตว์ป่า เช่น หมีสีน้ำตาล หมาป่าสีเทา แมวป่าบางชนิด และละมั่งอยู่ในปริมาณที่เยอะมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในแถบยุโรป ซึ่งลดจำนวนลงเรื่อย ๆ
ประวัติศาสตร์
[แก้]ดินแดนโรมาเนียส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เมื่อในอดีตอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน ต่อมาได้ประกาศเอกราชและสถาปนาเป็นราชอาณาจักร ในปี พ.ศ. 2421 ภายใต้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินแดนโรมาเนียถูกกองทัพไรช์ที่สาม เวร์มัคท์เข้ายึดครอง
กองทัพโซเวียตได้ปลดปล่อยและมีอำนาจเหนือโรมาเนียแทนเมื่อสิ้นสุดสงคราม มีการโค่นล้มระบอบกษัตริย์และเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ ในปี 2490
ในเดือนธันวาคม 2532 ประชาชนได้ก่อการปฏิวัติล้มล้างการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย และประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2534 เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยกำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐใหม่เป็นรัฐประชาธิปไตยและสวัสดิการสังคม (Democratic and Social State) มีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนเป็นประมุข ภายหลังจากการปกครองแบบระบบคอมมิวนิสต์ของโรมาเนียถูกล้มล้างโดยการปฏิวัติ
การเมืองการปกครอง
[แก้]สถานการณ์สำคัญ
[แก้]เดิมรัฐบาลโรมาเนียเป็นรัฐบาลผสมระหว่างพรรค National Liberal Party (NLP) พรรค Democratic Party (DP) และพรรค Hungarian Democratic Union of Romania (HDUR) อย่างไรก็ดี ในระยะหลัง 2 พรรคใหญ่ คือ พรรค NLP (ของนายกรัฐมนตรี Popescu-Tariceanu) และพรรค DP (ของประธานาธิบดี Basescu) เริ่มไม่ลงรอยกัน อันมีสาเหตุมาจากการที่ประธานาธิบดี Basescu ประกาศจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2551 การประกาศตนเป็นคู่แข่งดังกล่าว ทำให้ประธานาธิบดี Basescu และนายกรัฐมนตรี Popescu-Tariceanu เริ่มมีความขัดแย้งมากขึ้น
รัฐบาลชุดปัจจุบันของนายกรัฐมนตรี Popescu-Tariceanu มุ่งให้ความสำคัญกับเรื่องต่างๆ ดังนี้ การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของโรมาเนีย การแก้ไขปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง การปฏิรูประบบศาลให้มีอิสระอย่างแท้จริง การเพิ่มสิทธิเสรีภาพแก่สื่อมวลชน การเสริมสร้างบรรยากาศ การแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์ การพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีและพหุภาคี การส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งด้านพรมแดนกับยูเครน รวมทั้งการส่งเสริมความสัมพันธ์กับมอลโดวา
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 นาย Mihai Razvan Ungureanu รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดนาย Basescu ประธานาธิบดี ได้ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากมิได้รายงานให้นาย Popescu-Tariceanu นายกรัฐมนตรี ทราบถึงกรณีคนงานชาวโรมาเนีย 2 รายถูกจับกุม เนื่องจากถ่ายภาพในฐานทัพของสหรัฐฯ ในอิรักโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งสื่อต่างประเทศวิเคราะห์ว่า การลาออกของ นาย Ungureanu เป็นการตอกย้ำความไม่ลงรอยกันระหว่างประธานาธิบดี Basescu กับนายกรัฐมนตรี Popescu Tariceanu และเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่โรมาเนียเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป รัฐบาลโรมาเนียก็ประสบวิกฤตการณ์ทางการเมือง โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวหาประธานาธิบดีว่ามีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการสร้างสาธารณูปโภค นอกจากนี้การลาออกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และการที่ประธานาธิบดีกล่าวหานายกรัฐมนตรีว่าโกหกในเรื่องการผลักดัน การลาออกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ทำให้คาดการณ์ว่า หากรัฐบาลสามารถคงอยู่ต่อไป ก็จะเป็นรัฐบาลไร้เสถียรภาพ หรือหากมีความขัดแย้งอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปเร็วขึ้นกว่ากำหนด
การที่หัวหน้าพรรคใหญ่ที่ทรงอิทธิพล 2 พรรค ได้แก่ พรรค PNL ของนายกรัฐมนตรี Popescu Tariceanu และพรรค PD ของประธานาธิบดี Basescu มีความขัดแย้งกันเช่นนี้ นำไปสู่การที่นายกรัฐมนตรี Popescu Tariceanu ประกาศปรับคณะรัฐมนตรีใหม่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 โดยการถอดพรรค PD ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้มีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีซึ่งมาจากพรรค PD ออก 8 ตำแหน่ง ส่งผลให้พรรคร่วมรัฐบาลใหม่ประกอบด้วยพรรค PNL และพรรค Democratic Union of Hungarians in Romania (UDMR) แทน โดยคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้รับการรับรองจากรัฐสภาโรมาเนียแล้วเมื่อ วันที่ 3 เมษายน 2550
การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีชุดนี้มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการรวมตัวของยุโรป กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงคมนาคม เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำคัญของ โรมาเนีย และแม้ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย (ร้อยละ 26) แต่ก็ได้รับการรับรองจากรัฐสภาซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มาจากพรรค PNL คู่ปรับ เนื่องจากสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ยังไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้น (ตามรัฐธรรมนูญโรมาเนีย หากรัฐสภาปฏิเสธที่จะให้การรับรองรายชื่อคณะรัฐมนตรี 2 ครั้ง ประธานาธิบดีสามารถยุบสภาได้)
ความตึงเครียดทางความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนการถอดพรรค PD ออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ส่งผลให้เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2550 รัฐสภาโรมาเนียได้มีมติถอดถอนประธานาธิบดี Basescu ด้วยคะแนนเสียง 322 ต่อ 108 ด้วย 19 ข้อหา อาทิ ประธานาธิบดี Basescu พยายามเข้าครอบงำหน่วยงานรัฐ ซึ่งรวมถึงหน่วยงานด้านความมั่นคง และวิพากษ์วิจารณ์ศาล ซึ่งมีผลให้ประธานาธิบดี Basescu ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จนกว่าจะมีการลงประชามติว่าประชาชนเห็นชอบกับการถอดถอนดังกล่าวหรือไม่เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2550 ซึ่งปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิลงประชามติประมาณ 5.8 ล้านคน (หรือประมาณร้อยละ 44 ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด) และปรากฏว่า มีผู้ลงมติสนับสนุนประธานาธิบดี (คัดค้านมติของรัฐสภา) ถึงประมาณร้อยละ 75 และมีผู้ลงมติไม่สนับสนุนประธานาธิบดีประมาณร้อยละ 25 ซึ่งผลการลงประชามติในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงชัยชนะของประธานาธิบดี Basescu ที่มีต่อรัฐสภาและรัฐบาล และแสดงให้เห็นถึงความนิยมของประชาชนที่มีต่อประธานาธิบดี Basescu พร้อมกันนี้ นาย Jose Manuel Barosso ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้กล่าวแสดงความหวังว่า ผลการลงประชามติดังกล่าว จะมีส่วนสนับสนุนให้โรมาเนียดำเนินการปฏิรูปสังคมในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการยุติธรรม ต่อไป
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]โรมาเนียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 41 เทศมณฑล (județ) กับ 1 เทศบาลนคร (municipiu) การจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปตามหลักแห่งการปกครองตนเองและการกระจายอำนาจการบริการสาธารณะ
เศรษฐกิจ
[แก้]โรมาเนียประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอยกว่า 3 ปี ก่อนที่จะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ในปี 2543 [ต้องการอ้างอิง]จากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของตลาดสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา โรมาเนียประสบปัญหาหลัก 4 ประการ คือ [ต้องการอ้างอิง] (1) การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ปัญหาหนี้สินทั้งของภาครัฐและเอกชน (2) ปัญหาค่าเงินเลตกต่ำ (3) ปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และ (4) ปัญหาระบบธนาคาร ซึ่งรัฐบาลโรมาเนียได้พยายามดำเนินมาตรการจำเป็นต่างๆ เพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ และระบบราชการ รวมทั้งแก้ปัญหาการขาดความชัดเจนด้านกฎหมาย ปัญหาด้านศุลกากร และปัญหาคอรัปชั่น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการระดมทุนจากต่างประเทศ
ในปี 2545 เศรษฐกิจของโรมาเนียเริ่มมีสภาวะดีขึ้น โดยภาคธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาได้แก่ อุตสาหกรรมก่อสร้าง การสร้างทางรถไฟและท่าเรือ และโครงการด้านการพลังงาน โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ยังมีภาคธุรกิจอื่นๆ ที่มีแนวโน้มในศักยภาพ อาทิ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ ประกันภัย การท่องเที่ยว เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ อุตสาหกรรมอาหาร ในการปฏิรูประบบโครงสร้าง รัฐบาลมีโครงการจำหน่ายรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ อาทิ ธนาคาร Banca Coerciala Romana (BCR) ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ [ต้องการอ้างอิง] และบริษัทน้ำมันแห่งชาติ PETROM และยังมีโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน เหมืองแร่ และอาวุธ รัฐบาลโรมาเนียจึงต้องกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่างๆ มาชำระหนี้สิน โดยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้อนุมัติเงินกู้ระยะ 2 ปี จำนวน 367 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่โรมาเนีย [ต้องการอ้างอิง]โรมาเนียได้ดำเนินการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ เพื่อให้พร้อมในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งจะทำให้โรมาเนียได้รับเงินช่วยเหลือทางการเกษตรหลายร้อยล้านยูโร ความช่วยเหลือในการพัฒนาระบบขนส่งและสาธารณูปโภค รวมทั้ง เงินลงทุนจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เนื่องจากค่างจ้างแรงงานและค่าใช้จ่ายซึ่งถูกกว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรป
ประชากรศาสตร์
[แก้]เชื้อชาติ
[แก้]ประชากร 22.3 ล้านคน (กรกฎาคม 2549) ประกอบด้วยชาวโรมาเนีย (ร้อยละ 89.5) ชาวฮังการี (ร้อยละ 6.6) ชาวโรมานี (ร้อยละ 2.5) ชาวเยอรมัน (ร้อยละ 0.3) ชาวยูเครน (ร้อยละ 0.3)
ศาสนา
[แก้]ประเทศโรมาเนียไม่มีศาสนาประจำชาติ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ โดย 81.0% ของผู้ที่ตอบสำมะโนประชากรของประเทศในปี ค.ศ. 2011 ถือนิกายออร์ทอดอกซ์ ซึ่งจัดอยู่ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์แห่งโรมาเนีย อีก 6.2% เป็นโปรเตสแตนต์ 4.3% เป็นโรมันคาทอลิก และ 0.8% เป็นออร์ทอดอกซ์แบบกรีก จากประชากรที่เหลือ 195,569 คน นับถือศาสนาคริสต์นิกายอื่น หรือนับถือศาสนาอื่น โดย 64,337 คนนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งโดยมากเป็นชาวโรมาเซียเชื้อสายเติร์กและตาร์ตาร์ ส่วนอีก 3,519 คนเป็นชาวยิว นอกจากนี้ ประชากรจำนวน 39,660 คน ไม่นับถือศาสนาใดเลย หรือถืออเทวนิยม ในขณะที่ที่เหลือไม่มีข้อมูลว่านับถืออะไร[4]
ภาษา
[แก้]ภาษาทางการของโรมาเนียคือภาษาโรมาเนีย ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ตัวอักษรละติน จัดอยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ บางส่วนของประเทศมีการใช้ภาษาโรมาเนียควบคู่ไปกับภาษาฮังการี ในขณะที่บางแห่งของประเทศยังมีการพูดภาษาเยอรมันเล็กน้อย
โดยทั่วไป ชาวโรมาเนียหลายคนพูดภาษาอังกฤษและหรือภาษาฝรั่งเศสได้ดีพอใช้ ซึ่ง ทั้งสองภาษานั้น โดยเฉพาะภาษาอังกฤษจะใช้บ่อยในวงการธุรกิจ
วัฒนธรรม
[แก้]อาหาร
[แก้]อาหารโรมาเนีย ประกอบด้วยอาหารหลากหลายชนิด ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกลุ่มชนต่าง ๆ โดยอิทธิพลที่ได้รับส่วนใหญ่มาจากอาหารออตโตมัน ในขณะที่ยังได้รับอิทธิพลจากอาหารจากประเทศยุโรปอื่น คือ อาหารเยอรมัน อาหารเซอร์เบีย อาหารบัลแกเรีย และอาหารฮังการี ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้ ทำให้อาหารโรมาเนียมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Constitution of Romania". Cdep.ro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2017. สืบค้นเมื่อ 2 October 2013.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "Reservations and Declarations for Treaty No.148 – European Charter for Regional or Minority Languages". Council of Europe. Council of Europe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 3 December 2015.
- ↑ 3.0 3.1 "Romanian 2011 census (final results)" (PDF) (ภาษาโรมาเนีย). INSSE. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2013. สืบค้นเมื่อ 28 August 2012.
- ↑ 4.0 4.1 "2011 census results by religion" (xls). www.recensamantromania.ro, website of the Romanian Institute of Statistics. สืบค้นเมื่อ 2015-05-05.
- ↑ Elgie, Robert (28 November 2017). Political Leadership: A Pragmatic Institutionalist Approach. Springer. ISBN 9781137346223 – โดยทาง Google Books.
- ↑ Romania Directory. Editura Cronos. 1 April 1990. ISBN 9789739000000 – โดยทาง Google Books.
- ↑ "DECRET-LEGE 2 27/12/1989 - Portal Legislativ". legislatie.just.ro.
- ↑ "Populația rezidentă la 1 Ianuarie 2021" [The usually resident population on 1 January 2021] (PDF). Insse.ro (ภาษาโรมาเนีย). National Institute of Statistics. สืบค้นเมื่อ 30 August 2021.
- ↑ "Populaţia rezidentă pe sexe şi vârste, la 1 Ianuarie 2021". Insse.ro (ภาษาโรมาเนีย). National Institute of Statistics. สืบค้นเมื่อ 30 August 2021.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 "World Economic Outlook Database, October 2021 Edition". IMF.org. International Monetary Fund. October 2021.
- ↑ "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
- ↑ "2020 Human Development Report" (PDF). United Nations Development Programme. 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
- ↑ "Romania Geography". aboutromania.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2015. สืบค้นเมื่อ 4 April 2015.
- ↑ "The Story of the Romanian Royal Family – a Journey into the Past". TravelMakerTours.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 12 January 2018. สืบค้นเมื่อ 4 March 2020.
- ↑ Stoleru, Ciprian (13 September 2018). "Romania during the period of neutrality". Europe Centenary (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 4 March 2020.
- ↑ "World Bank Country and Lending Groups". datahelpdesk.worldbank.org. World Bank. สืบค้นเมื่อ 1 July 2020.
- ↑ "Explanatory Dictionary of the Romanian Language, 1998; New Explanatory Dictionary of the Romanian Language, 2002" (ภาษาโรมาเนีย). Dexonline.ro. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2016. สืบค้นเมื่อ 25 September 2010.
- ↑ Cl. Isopescu (1929). "Notizie intorno ai romeni nella letteratura geografica italiana del Cinquecento". Bulletin de la Section Historique. XVI: 1–90.
... si dimandano in lingua loro Romei ... se alcuno dimanda se sano parlare in la lingua valacca, dicono a questo in questo modo: Sti Rominest ? Che vol dire: Sai tu Romano, ...
- ↑ Holban, Maria (1983). Călători străini despre Țările Române (ภาษาโรมาเนีย). Vol. II. Ed. Științifică și Enciclopedică. pp. 158–161.
Anzi essi si chiamano romanesci, e vogliono molti che erano mandati quì quei che erano dannati a cavar metalli ...
- ↑ Cernovodeanu, Paul (1960). "Voyage fait par moy, Pierre Lescalopier l'an 1574 de Venise a Constantinople, fol 48". Studii și Materiale de Istorie Medievală (ภาษาโรมาเนีย). IV: 444.
Tout ce pays la Wallachie et Moldavie et la plus part de la Transilvanie a eté peuplé des colonies romaines du temps de Traian l'empereur ... Ceux du pays se disent vrais successeurs des Romains et nomment leur parler romanechte, c'est-à-dire romain ...
- ↑ Ion Rotaru, Literatura română veche, "The Letter of Neacșu from Câmpulung" เก็บถาวร 9 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, București, 1981, pp. 62–65
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คู่มือการท่องเที่ยว Romania จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)