ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศสวีเดน

พิกัด: 63°N 16°E / 63°N 16°E / 63; 16
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สวีเดน)

63°N 16°E / 63°N 16°E / 63; 16

ราชอาณาจักรสวีเดน

Konungariket Sverige (สวีเดน)
คำขวัญ(กษัตริย์) "เพื่อสวีเดน – ตามกาลเวลา"
(สวีเดน: För Sverige – I tiden)[a][1]

ที่ตั้งของ ประเทศสวีเดน  (เขียวเข้ม)

– ในทวีปยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (เขียว)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
สต็อกโฮล์ม
59°21′N 18°4′E / 59.350°N 18.067°E / 59.350; 18.067
ภาษาราชการสวีเดน[c]
ภาษาชนกลุ่มน้อย
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2019)
ศาสนา
(ค.ศ. 2017)
66.8% คริสต์
—60.3% คริสตจักรแห่งสวีเดน[a]
—6.5% นิกายอื่น ๆ
27.0% ไม่มีศาสนา
5.0% อิสลาม
1.2% อื่น ๆ[8][9]
เดมะนิม
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ
อันเดรียส นอร์เลน
อุล์ฟ คริสเตอช็อน
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
ประวัติ
• ก่อตั้งราชอาณาจักรสวีเดน
ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12
• ส่วนหนึ่งของสหภาพคัลมาร์
ค.ศ. 1397–1523
4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1814 – สิงหาคม ค.ศ. 1905[10]
1 มกราคม ค.ศ. 1995
• เข้าร่วมเนโท
7 มีนาคม ค.ศ. 2024
พื้นที่
• รวม
450,295 ตารางกิโลเมตร (173,860 ตารางไมล์) (อันดับที่ 55)
8.37 (ใน ค.ศ. 2015)[11]
ประชากร
• กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 10,402,070[12] (อันดับที่ 88)
25 ต่อตารางกิโลเมตร (64.7 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 198)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 563,882 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[13] (อันดับที่ 39)
เพิ่มขึ้น 52,477 ดอลลาร์สหรัฐ[13] (อันดับที่ 16)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
ลดลง 528,929 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[13] (อันดับที่ 23)
ลดลง 50,339 ดอลลาร์สหรัฐ[13] (อันดับที่ 12)
จีนี (ค.ศ. 2020)positive decrease 26.9[14]
ต่ำ
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.945[15]
สูงมาก · อันดับที่ 7
สกุลเงินครูนาสวีเดน (SEK)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
รูปแบบวันที่ปปปป-ดด-วว
ขับรถด้านขวา[e]
รหัสโทรศัพท์+46
รหัส ISO 3166SE
โดเมนบนสุด.se[f]
  1. ^ "För Sverige – I tiden" เป็นคำขวัญประจำพระองค์ของสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ
  2. ^ Du gamla, Du fria ไม่ได้เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการ แต่ใช้ตามธรรมเนียม
  3. ^ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2009[16][17] ห้าภาษาได้รับการยอมรับเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยอย่างเป็นทางการ:[18] ภาษามือสวีเดนได้สถานะพิเศษด้วย
  4. ^ บุคคลที่มีภูมิหลังจากต่างชาติถูกระบุว่าเกิดเป็นชาวต่างชาติ หรือเกิดในสวีเดนกับพ่อแม่ชาวต่างชาติ[19] ไม่ควรไปสับสนกับภูมิหลังทางสัญชาติของผู้อพยพ
  5. ^ ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1967
  6. ^ ใช้โดเมน .eu ด้วย เพราะเป็นรัฐสมาชิกของสหภาพยุโรป

สวีเดน (อังกฤษ: Sweden; สวีเดน: Sverige, ออกเสียง: [ˈsvæ̌rjɛ]) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรสวีเดน (อังกฤษ: Kingdom of Sweden; สวีเดน: Konungariket Sverige) เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิกตั้งอยู่บนคาบสมุทรสแกนดิเนเวียในยุโรปเหนือ เขตแดนทางตะวันตกและทางเหนือจรดประเทศนอร์เวย์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศฟินแลนด์ และช่องแคบสแกเกอร์แรก ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดช่องแคบคัตเทกัต และทางตะวันออกจรดทะเลบอลติก และอ่าวบอทเนีย ด้วยขนาดพื้นที่ 450,295 ตารางกิโลเมตร (173,860 ตารางไมล์) สวีเดนจึงเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มนอร์ดิก และใหญ่ที่สุดเป็นอันดับห้าในทวีปยุโรป เมืองหลวงและเมืองใหญที่สุดคือกรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดนมีประชากรที่เบาบาง เว้นแต่ในเขตเมืองใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยป่าไม้ ภูเขาสูง และทะเลสาบ แม่น้ำหลายสายไหลมาจากเทือกเขาสแกนดิเนเวีย และยังมีแนวชายฝั่งที่กว้างขวาง สวีเดนมีประชากรราว 10.6 ล้านคน และความหนาแน่นของประชากรอยู่ที่ 25 คนต่อตารางกิโลเมตร โดยกว่า 88% ของประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมืองซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 1.5% ของแผ่นดินทั้งหมด มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดในตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ สวีเดนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีสภาพอากาศที่หลากหลายเนื่องจากลักษณะภูมิประเทศ

กลุ่มชนเจอร์แมนิกเข้ามาตั้งรกรากในสวีเดนตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และดำรงชีพด้วยการทำประมงก่อนจะรวมตัวกันเป็นชาวทะเลที่รู้จักกันในชื่อ ชาวนอร์ส รัฐอิสระของสวีเดนเกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 12 หลังจากการระบาดทั่วของกาฬโรคครั้งใหญ่ในกลางศตวรรษที่ 14 ซึ่งคร่าชีวิตชาวสแกนดิเนเวียไปกว่าหนึ่งในสาม[20][21] การครอบงำของสันนิบาตฮันเซอในยุโรปเหนือได้คุกคามชาวสแกนดิเนเวียทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง หลังสิ้นสุดยุคไวกิง สวีเดนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพคัลมาร์ใน ค.ศ. 1397 ร่วมกับเดนมาร์กและนอร์เวย์ แต่ได้ออกจากสหภาพในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 ในสงครามสามสิบปี และได้รบกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะรัสเซีย เดนมาร์ก และนอร์เวย์[22] ซึ่งไม่ยอมรับการที่สวีเดนออกจากสหภาพ ในศตวรรษที่ 17 สวีเดนได้ขยายอาณาเขตด้วยสงครามและกลายเป็นหนึ่งชาติมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุโรป ก่อนจะสูญเสียพื้นที่ราชอาณาจักรรวมถึงฟินแลนด์ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนให้แก่จักรวรรดิรัสเซียใน ค.ศ. 1809 และนับตั้งแต่เข้าร่วมสงครามสหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ใน ค.ศ. 1814 สวีเดนอยู่ในภาวะสันติและปราศจากสงครามระหว่างประเทศมาตลอด โดยมีนโยบายต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และเป็นกลางในสงครามรวมถึงในสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเย็น[23] ใน ค.ศ. 2014 สวีเดนได้เฉลิมฉลองสันติภาพประเทศครบ 200 ปี ทำลายสถิติของสวิตเซอร์แลนด์[24]

สวีเดนเป็นผู้ส่งออกเหล็ก ทองแดง และไม้ชั้นนำของยุโรปตั้งแต่สมัยยุคกลาง อย่างไรก็ดี การขนส่งและการคมนาคมที่ดีขึ้น ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติจากส่วนต่าง ๆ ของประเทศได้มากขึ้น โดยเฉพาะไม้ และแร่เหล็ก การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและการจัดการศึกษาทั่วไป ช่วยให้เกิดอุตสาหกรรมขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทศวรรษ 1890 ประเทศได้เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมขั้นสูง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้เกิดระบบสวัสดิการของรัฐบาลขึ้น ปัจจุบัน สวีเดนมีความโน้มเอียงในทางเสรีนิยม และความเท่าเทียมกันในสังคม

สวีเดนมีรัฐธรรมนูญที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยอำนาจนิติบัญญัติตกเป็นของสมาชิกรัฐสภาซึ่งมีสมาชิก 349 คน สวีเดนเป็นรัฐรวมซึ่งแบ่งออกเป็น 21 เทศมณฑล และ 290 เทศบาล สวีเดนถือเป็นประเทศพัฒนาแล้ว[25] และรักษาระบบสวัสดิการสังคมตามตัวแบบนอร์ดิกที่มีระบบสาธารณสุขและการศึกษาที่มีคุณภาพ[26][27] ถูกจัดอยู่ในอันดับ 5 ในแง่ดัชนีการพัฒนามนุษย์ มีรายได้ต่อหัวสูงเป็นอันดับที่ 14 ของโลก และอยู่ในอันดับที่สูงในด้านคุณภาพชีวิต,[28] สุขภาพ, การศึกษา, การคุ้มครองเสรีภาพของพลเมือง, ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ, ความเท่าเทียมกันของรายได้[29] และความเสมอภาคทางเพศ สวีเดนเข้าร่วมสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 แต่ได้ปฏิเสธการเป็นสมาชิกยูโรโซนภายหลังการลงประชามติ และยังเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ, พื้นที่เชงเกน, สภานอร์ดิก, สภายุโรป, องค์การการค้าโลก และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา และเข้าเป็นสมาชิกเนโทในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2024[30]

นิรุกติศาสตร์

[แก้]

ชื่อประเทศ สวีเดน (Sweden) เป็นคำมาจากภาษาดัตช์ในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 ซึ่งสื่อความหมายตรงตัวว่าดินแดนแห่งชาวสวีเดน ต่อมา มีการตั้งชื่อประเทศอย่างเป็นทางการว่า Swéoland และ Swíoríce ตามภาษานอร์สเก่า[31] และนักล่าอาณานิคมจากสหราชอาณาจักรได้เริ่มมีการเรียกประเทศสวีเดนว่า Sweden และเริ่มมีการบรรจุในพจนานุกรมโดยนักภาษาศาสตร์[32]

ในส่วนของชื่อทางการของประเทศ Sverige ในภาษาสวีเดน มาจากการประสมคำระหว่าง Svea และ rike ซึ่งหมายถึงดินแดนแห่งชาวสวีเดนและยังหมายถึงชนเผ่าดั้งเดิมของตนเอง ในบริบทสากลชื่อ Sweden ถูกใช้โดยทั่วไป ยกเว้นในภาษานอร์สและภาษาเดนมาร์กจะเรียกประเทศสวีเดนว่า Sverige

ภูมิศาสตร์ และ สภาพอากาศ

[แก้]
แผนที่ประเทศสวีเดน

สวีเดนเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่เหนือสุดของโลก มีขนาดพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย สวีเดนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 450,000 ตารางกิโลเมตร (ความกว้าง 500 กิโลเมตร และความยาว 1,600 กิโลเมตร) สวีเดนมีชายฝั่งที่ค่อนข้างยาว จรดทะเลบอลติกและอ่าวบอทเนีย ทางตะวันตกมีเทือกเขาสแกนดิเนเวีย ทอดตามแนวพรมแดนกับประเทศนอร์เวย์[33]

สวีเดนแบ่งออกเป็นสามภาคหลัก ๆ ได้แก่ เยอตาลันด์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เป็นที่ราบและมีป่าไม้ สเวียยาลันด์ เป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ และมีทะเลสาบจำนวนมาก และนอร์ลันด์ เป็นภูมิภาคตอนเหนือของสวีเดน มีภูเขา ป่าไม้ และแร่ธาตุมาก ประมาณร้อยละสิบห้าของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศตั้งอยู่เหนือขึ้นไปจากอาร์กติกเซอร์เคิล[34]

ถึงแม้ว่าสวีเดนจะตั้งอยู่ทางตอนเหนือมาก แต่กลับมีภูมิอากาศแบบอบอุ่น เนื่องจากอิทธิพลของกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม ทางตอนเหนือของอาร์กติกเซอร์เคิล พระอาทิตย์ไม่ตกดินเลยในบางช่วงของฤดูร้อน และแทบไม่สามารถเห็นได้ในฤดูหนาว สวีเดนจึงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืน

สภาพภูมิอากาศของสวีเดนแตกต่างกันไปตามสถานที่ตั้ง แต่ส่วนใหญ่จะมีอากาศอบอุ่นทางตอนใต้และตอนเหนือใต้ขั้วโลกเหนือ ทางตอนใต้ฤดูร้อนอากาศเย็นสบายและมีเมฆเป็นบางส่วนในขณะที่ฤดูหนาวอากาศหนาวและมักมีเมฆมาก เนื่องจากทางตอนเหนือของสวีเดนอยู่ภายในอาร์กติกเซอร์เคิล จึงมีฤดูหนาวที่ยาวนานและหนาวเย็นมาก นอกจากนี้เนื่องจากละติจูดทางเหนือของสวีเดนส่วนใหญ่จึงมืดเป็นเวลานานในช่วงฤดูหนาวและมีแสงสว่างในฤดูร้อนนานกว่าหลายชั่วโมงในประเทศทางใต้ กรุงสต็อกโฮล์มเมืองหลวงของสวีเดนมีอากาศค่อนข้างเย็นเนื่องจากอยู่บนชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศ อุณหภูมิสูงโดยเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมในสต็อกโฮล์มคือ 71.4 องศา (22˚C) และอุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ยในเดือนมกราคมคือ 23 องศา (-5˚C)[35]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

สวีเดนมีประวัติศาสตร์อันยาวนานที่เริ่มจากค่ายล่าสัตว์ก่อนประวัติศาสตร์ทางตอนใต้สุดของประเทศ ในศตวรรษที่ 7 และ 8 สวีเดนเป็นที่รู้จักในด้านการค้า แต่ในศตวรรษที่ 9 ชาวไวกิงได้บุกเข้าไปในภูมิภาคนี้และส่วนใหญ่ในยุโรป ในปี 1397 Queen Margaret แห่งเดนมาร์กได้สร้างสหภาพคัลมาร์ซึ่งรวมถึงสวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และเดนมาร์ก[36]

เมื่อถึงศตวรรษที่ 15 ความตึงเครียดทางวัฒนธรรมทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสวีเดนและเดนมาร์กและในปี 1523 สหภาพคัลมาร์ก็สลายตัวทำให้สวีเดนเป็นอิสระ[37]

ในศตวรรษที่ 17 สวีเดนและฟินแลนด์ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดน) ได้ต่อสู้และชนะสงครามหลายครั้งกับเดนมาร์กรัสเซียและโปแลนด์ซึ่งทำให้ทั้งสองประเทศกลายเป็นที่รู้จักในฐานะมหาอำนาจในยุโรป ด้วยเหตุนี้ในปี 1658 สวีเดนจึงควบคุมพื้นที่หลายแห่งซึ่งบางแห่งรวมถึงหลายจังหวัดในเดนมาร์กและเมืองชายฝั่งที่มีอิทธิพล ในปี 1700 รัสเซียแซกโซนี - โปแลนด์และเดนมาร์ก - นอร์เวย์โจมตีสวีเดนซึ่งสิ้นสุดเวลาในฐานะประเทศที่มีอำนาจ ในช่วงสงครามนโปเลียนสวีเดนถูกบังคับให้ยกฟินแลนด์ให้รัสเซียในปี 1809 อย่างไรก็ตามในปี 1813 สวีเดนได้ต่อสู้กับนโปเลียนและหลังจากนั้นไม่นานสภาคองเกรสแห่งเวียนนาได้สร้างการรวมกันระหว่างสวีเดนและนอร์เวย์ในระบอบกษัตริย์แบบคู่ (ภายหลังสหภาพนี้ได้ถูกยุบอย่างสงบใน ค.ศ. 1905)[38]

ตลอดช่วงเวลาที่เหลือของปี 1800 สวีเดนเริ่มเปลี่ยนเศรษฐกิจไปสู่เกษตรกรรมส่วนตัวและส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศได้รับความเดือดร้อน ระหว่าง ค.ศ. 1850 ถึง 1890 ชาวสวีเดนประมาณล้านคนย้ายไปอยู่ในสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 สวีเดนยังคงเป็นกลางและได้รับประโยชน์จากการผลิตผลิตภัณฑ์เช่นเหล็กลูกปืนและไม้ขีดไฟ หลังสงครามเศรษฐกิจดีขึ้นและประเทศก็เริ่มพัฒนานโยบายสวัสดิการสังคมอย่างที่มีอยู่ในปัจจุบัน สวีเดนเข้าร่วมสหภาพยุโรปในปี 1995[39]

การเมืองการปกครอง

[แก้]

สวีเดนมีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน มีรัฐสภา

ประมุขแห่งรัฐ

[แก้]

การเมืองการปกครอง

[แก้]
สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน
พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันแห่งสวีเดน
ทรงครองราชย์ตั้งแต่ 15 กันยายน 2516
เจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย
ว่าที่สมเด็จพระราชินีนาถแหงสวีเดนในอนาคต

พระมหากษัตริย์สวีเดนเป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นตัวแทนสูงสุดของประเทศ แต่ไม่มีอำนาจทางการเมืองใด ๆ รวมถึงไม่จำเป็นต้องลงพระปรมาภิไธยในการตัดสินใจของรัฐสภาด้วย[40]

จากการแก้ไขกฎการสืบราชสมบัติในปี 1979 ให้สิทธิเท่าเทียมกันกับรัชทายาททั้งชายและหญิง ทำให้ตำแหน่งรัชทายาทสูงสุดในปัจจุบันเป็นของเจ้าฟ้าหญิงวิกตอเรีย ซึ่งเสด็จพระราชสมภพในปี 1977

รัฐธรรมนูญ

[แก้]

รัฐธรรมนูญของสวีเดนประกอบด้วยกฎหมายมูลฐานสี่ฉบับ ได้แก่

  • Regeringsformen (การจัดตั้งรัฐบาล 1974)
  • Successionsordningen (กฎมณเฑียรบาล 1810)
  • Tryckfrihetsförordningen (พระราชบัญญัติเสรีภาพสื่อ 1766)
  • Yttrandefrihetsgrundlagen (กฎหมายมูลฐานว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงออก 1991)

การแก้ไขหรือยกเลิกรัฐธรรมนูญ จะต้องได้รับความเห็นชอบตรงกันจากรัฐสภาสองครั้ง โดยมีการเลือกตั้งทั่วไปคั่นกลาง นอกจากนี้ยังมีพระราชบัญญัติรัฐสภา 1974 (Riksdagsordningen) ซึ่งมีสถานะพิเศษ สูงกว่ากฎหมายทั่วไป แต่อยู่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ[41]

นิติบัญญัติ

[แก้]

รัฐสภาของสวีเดน เรียกในภาษาสวีเดนว่าริกส์ดอก (Riksdag) มีอำนาจนิติบัญญัติ ใช้ระบบสภาเดี่ยวประกอบด้วยสมาชิก 349 คน มาจากการเลือกตั้งทุก ๆ 4 ปี การเลือกตั้งนั้นใช้ระบบสัดส่วน โดยพรรคการเมืองจะต้องได้รับเสียงจากทั่วประเทศอย่างน้อยร้อยละ 4 หรืออย่างน้อยร้อยละ 12 ในเขตเลือกตั้ง จึงจะได้รับที่นั่งในรัฐสภา การเลือกตั้งจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปีในวันเลือกตั้ง[42]

ก่อนหน้านี้ สวีเดนเคยใช้ระบบสองสภามาตั้งแต่ปี 1860 และได้ยกเลิกไปในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อปี 1968-69[43]

บริหาร

[แก้]

หลังจากการเลือกตั้ง พรรคหรือกลุ่มที่ได้มีจำนวนเสียงสูงสุดจะจัดตั้งรัฐบาล โดยรัฐสภาจะเลือกนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นหัวหน้ารัฐบาล และนายกรัฐมนตรีเลือกรัฐมนตรีเข้าร่วมรัฐบาล นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันได้แก่ สเตฟัน เลอเวน (Stefan Löfven) หัวหน้าพรรคพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 3 ตุลาคม 2014

พรรคการเมือง

[แก้]

ปัจจุบัน สวีเดนมีพรรคการเมืองที่มีที่นั่งในสภาอยู่ 7 พรรค[43] ได้แก่

ชื่อ ชื่อภาษาสวีเดน ปีที่ก่อตั้ง จำนวนสมาชิกในรัฐสภา
พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย Arbetarepartiet Socialdemokraterna ค.ศ. 1889
130
พรรคโมเดอเรต Moderata samlingspartiet ค.ศ. 1904
97
พรรคกลาง Centerpartiet ค.ศ. 1913
29
พรรคเสรีนิยม Folkpartiet liberalerna ค.ศ. 1902
28
พรรคคริสเตียนเดโมแครต Kristdemokraterna ค.ศ. 1964
24
พรรคซ้าย Vänsterpartiet ค.ศ. 1917
22
พรรคกรีน Miljöpartiet de Gröna ค.ศ. 1981
19

สิทธิมนุษยชน

[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
การแบ่งการปกครองของประเทศสวีเดน

สวีเดนแบ่งการปกครองออกเป็น 21 เทศมณฑล (län) ได้แก่

  1. เทศมณฑลก็อตลันด์ (Gotland)
  2. เทศมณฑลครูนูแบร์ย (Kronoberg)
  3. เทศมณฑลคัลมาร์ (Kalmar)
  4. เทศมณฑลเซอเดอร์มันลันด์ (Södermanland)
  5. เทศมณฑลดอลานา (Dalarna)
  6. เทศมณฑลนอร์บ็อตเติน (Norrbotten)
  7. เทศมณฑลเบลียกิงเงอ (Blekinge)
  8. เทศมณฑลเย็มต์ลันด์ (Jamtland)
  9. เทศมณฑลเยินเชอปิง (Jönköping)
  10. เทศมณฑลแยฟเลอบอร์ย (Gävleborg)
  11. เทศมณฑลเว็สตราเยอตาลันด์ (Västra Götaland)
  12. เทศมณฑลเว็สต์มันลันด์ (Västmanland)
  13. เทศมณฑลเว็สเตอร์นอร์ลันด์ (Västernorrland)
  14. เทศมณฑลเว็สเตอร์บ็อตเติน (Västerbotten)
  15. เทศมณฑลแวร์มลันด์ (Värmland)
  16. เทศมณฑลสกัวเนอ (Skåne)
  17. เทศมณฑลสต็อกโฮล์ม (Stockholm)
  18. เทศมณฑลอุปซอลา (Uppsala)
  19. เทศมณฑลเออเรอบรู (Örebro)
  20. เทศมณฑลเอิสเตอร์เยิตลันด์ (Östergötland)
  21. เทศมณฑลฮัลลันด์ (Halland)

นโยบายต่างประเทศ

[แก้]

ตลอดศตวรรษที่ 20 นโยบายต่างประเทศของสวีเดนตั้งอยู่บนหลักการความเป็นกลางในยามสงคราม รัฐบาลสวีเดนดำเนินตามแนวทางที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในยามสงบเพื่อความเป็นกลางจะเกิดขึ้นได้ในกรณีของสงคราม หลักคำสอนเรื่องความเป็นกลางของสวีเดนมักสืบย้อนไปถึงศตวรรษที่ 19 เนื่องจากประเทศนี้ไม่ได้อยู่ในภาวะสงครามตั้งแต่สิ้นสุดการรณรงค์ต่อต้านนอร์เวย์ของสวีเดนในปี 1814 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สวีเดนไม่เข้าร่วมทั้งฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เรื่องนี้เป็นที่ถกเถียงกันในบางครั้ง เนื่องจากสวีเดนยอมให้ในบางกรณีที่ระบอบนาซีใช้ระบบรถไฟเพื่อขนส่งทหารและสินค้า โดยเฉพาะแร่เหล็กจากเหมืองทางตอนเหนือของสวีเดนซึ่งมีความสำคัญต่อเครื่องจักรทำสงครามของเยอรมัน อย่างไรก็ตาม สวีเดนก็มีส่วนสนับสนุนทางอ้อมในการป้องกันประเทศฟินแลนด์ในสงครามฤดูหนาว[44] และอนุญาตให้มีการฝึกทหารนอร์เวย์และเดนมาร์กในสวีเดนหลังปี 1943

ในช่วงต้นยุคสงครามเย็น สวีเดนได้รวมเอานโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดควบกับนโยบายด้านความมั่นคงที่มีพื้นฐานมาจากการป้องกันประเทศที่เข้มแข็ง หน้าที่ของกองทัพสวีเดนคือการยับยั้งการโจมตี ในเวลาเดียวกัน ประเทศยังคงความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการกับกลุ่มตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขอบเขตของการแลกเปลี่ยนข่าวกรอง ในปี 1952 เครื่อง DC-3 ของสวีเดนถูกยิงที่ทะเลบอลติกโดยเครื่องบินขับไล่ MiG-15 ของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่ปี 1995 สวีเดนเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป และจากสถานการณ์ความมั่นคงของโลกรูปแบบใหม่ หลักนโยบายต่างประเทศของประเทศจึงได้รับการแก้ไขบางส่วน โดยสวีเดนมีบทบาทอย่างแข็งขันมากขึ้นในความร่วมมือด้านความมั่นคงของยุโรป

กองทัพ

[แก้]
อากาศยานขับไล่ ยาส 39 ของกองทัพอากาศสวีเดน
รถถัง ซีวี90 ซึ่งผลิตและใช้ในประเทศสวีเดน

ตำรวจสวีเดนเป็นหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของตำรวจ หน่วยเฉพาะกิจแห่งชาติเป็นหน่วย SWAT แห่งชาติ มีหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยความมั่นคงแห่งสวีเดนคือการต่อต้านการจารกรรม กิจกรรมต่อต้านการก่อการร้าย การปกป้องรัฐธรรมนูญ และการปกป้องวัตถุและบุคคลที่ต้องการ ๆ คุ้มครอง

Försvarsmakten (Swedish Armed Forces) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่ขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหมของสวีเดนและรับผิดชอบการปฏิบัติการในยามสงบของกองทัพสวีเดน ภารกิจหลักของหน่วยงานคือการฝึกอบรมและปรับใช้กองกำลังรักษาสันติภาพในต่างประเทศ กองกำลังติดอาวุธแบ่งออกเป็นกองทัพบกกองทัพอากาศและกองทัพเรือ หัวหน้ากองกำลังติดอาวุธคือผู้บัญชาการทหารสูงสุด (Överbefälhavaren, ÖB) ซึ่งเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรอาวุโสที่สุดในประเทศ ในทางนิตินัย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดจนถึงปี 1974 แต่ในความเป็นจริง เป็นที่เข้าใจกันอย่างชัดเจนตลอดศตวรรษที่ 20 พระมหากษัตริย์จะไม่มีบทบาททางพฤตินัยในฐานะผู้นำทางทหาร[45][46]

ภายหลังสิ้นสุดสงครามเย็น ผู้ชายเกือบทั้งหมดที่อายุถึงการเกณฑ์ทหารได้ถูกเกณฑ์เข้ากองทัพ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จำนวนเพศชายที่เข้าเกณฑ์ทหารลดลงอย่างมาก ในขณะที่จำนวนอาสาสมัครหญิงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยจำนวนทหารเกณฑ์ทั้งหมด 45,000 นาย ในปี 2003 ลดลงเหลือ 15,000 และในวันที่ 1 กรกฎาคม 2010 สวีเดนได้ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร โดยเปลี่ยนไปใช้กำลังอาสาสมัครทั้งหมดแทน แต่มีการระบุไว้ตามกฎหมายว่าจะมีการเรียกเกณฑ์เพิ่มเติมในการเตรียมพร้อมในการป้องกันประเทศ[47]

เศรษฐกิจ

[แก้]

โครงสร้าง

[แก้]
ประเทศสวีเดนเป็นผู้ผลิตรถยนต์ วอลโว่

สวีเดนเป็นประเทศที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมสูงมาก เกษตรกรรมที่เคยเป็นเศรษฐกิจหลักของประเทศมีการจ้างงานน้อยกว่าร้อยละสองของแรงงานทั้งหมดในปัจจุบัน[48] อุตสาหกรรมดั้งเดิมที่สำคัญของสวีเดนได้แก่ การป่าไม้ เหล็ก และไฟฟ้าพลังน้ำ แต่ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมขั้นสูงเช่นรถยนต์ อากาศยาน อาวุธ และเวชภัณฑ์ เข้ามามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจอย่างมาก การที่สวีเดนมีประชากรไม่สูงนัก ทำให้ตลาดภายในประเทศจำกัดและต้องพึ่งพาการส่งออก สวีเดนจึงเป็นแหล่งกำเนิดของบริษัทที่ประสบความสำเร็จในตลาดโลกจำนวนมาก เช่น วอลโว่ ซาบ อีริกส์สัน อีเล็กโทรลักซ์ เอชแอนด์เอ็ม เป็นต้น

สวีเดนได้รับอันดับสามจากการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของเวิลด์อิโคโนมิกฟอรัมประจำปี 2006/07[49] สวีเดนมีการเก็บภาษีในอัตราที่สูง เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค และมีสหภาพแรงงานที่แข็งแกร่ง ธนาคารแห่งชาติสวีเดน Sveriges Riksbank เป็นธนาคารกลางที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ก่อตั้งในปี 1668[50] โดยปัจจุบัน ธนาคารให้ความสำคัญกับเสถียรภาพของราคา มีเป้าหมายเงินเฟ้อไม่เกินร้อยละ 2[51] ปัจจุบันสวีเดนยังคงใช้สกุลเงินครูนาสวีเดน โดยในปี 2003 ได้มีการลงประชามติเกี่ยวกับการใช้ค่าเงินยูโร ซึ่งร้อยละ 56 ลงคะแนนเสียงไม่เห็นด้วย[43][52]

แม้ว่าสวีเดนเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เมื่อปี 1995 แต่ยังไม่ยอมรับนโยบายเงินสกุลเดียว โดยได้ตัดสินใจไม่เข้าร่วมสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน (Economic and Monetary Union – EMU) แม้ว่าระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจจะผ่านเกณฑ์ (convergence criteria) ที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ก็ตาม และเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2003 ทางการสวีเดนได้ทำประชามติพบว่า ประชาชนกว่าร้อยละ 56.1 ไม่สนับสนุนให้สวีเดนเข้าร่วมการใช้เงินสกุลยูโร

ตลาดสินค้าส่งออกสำคัญที่สุดของสวีเดนอยู่ในยุโรปตะวันตก โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของสินค้าถูกส่งออกไปยังสหภาพยุโรป เช่น กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านนอร์ดิก (เดนมาร์ก ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ และนอร์เวย์) เยอรมนี สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส สำหรับตลาดส่งออกนอกภูมิภาคยุโรปที่สำคัญของสวีเดน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น สำหรับในด้านการนำเข้า ประเทศคู่ค้าของสวีเดนที่สำคัญที่สุด คือ สหภาพยุโรป นอร์เวย์ และสหรัฐอเมริกา

การท่องเที่ยว

[แก้]

การท่องเที่ยวสร้างรายได้มหาศาลให้แก่สวีเดน นับตั้งแต่ทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา สวีเดนเปิดรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยนักท่องเที่ยวส่วนมากมาจากสหรัฐอเมริกา รวมถึงกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในสแกนดิเนเวีย และนักท่องเที่ยวจากเอเชียก็เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน

สวีเดนขึ้นชื่อในด้านแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงาม โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการรองรองโดยยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกถึง 15 แห่ง[53]

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

คมนาคมและโทรคมนาคม

[แก้]
รถไฟในประเทศสวีเดน

สวีเดนมีถนนลาดยาง 162,707 กม. (101,101 ไมล์) และทางด่วน 1,428 กม. (887 ไมล์) มอเตอร์เวย์สายหลักวิ่งผ่านสวีเดนและข้ามสะพาน Øresund ไปยังประเทศเดนมาร์ก แลยังมีมอเตอร์เวย์แห่งใหม่ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง สวีเดนเคยมีการสัญจรทางซ้ายมือ (Vänstertrafik ในภาษาสวีเดน) ประมาณ ค.ศ. 1736 และยังคงดำเนินต่อไปจนถึงศตวรรษที่ 20 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งปฏิเสธระบบการจราจรทางขวามือในปี 1955 แต่ต่อมา ได้มีการเปลี่ยนมาเป็นทางขวามือในปี 1967 รถไฟใต้ดินในกรุงสต็อกโฮล์มเป็นระบบการขนส่งใต้ดินเพียงระบบเดียวในสวีเดน และให้บริการในเมืองสต็อกโฮล์มผ่าน 100 สถานี ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สุดยังคงเป็นของรัฐ ในขณะที่เทศมณฑลต่าง ๆ จะรับผิดชอบด้านการเงิน ตั๋ว และการตลาด สำหรับรถไฟขบวนอื่น ๆ ผู้ให้บริการด้านการรถไฟที่มีชื่อเสียง ได้แก่ SJ, Veolia Transport, DSB, Green Cargo, Tågkompaniet และ Inlandsbanan[54][55][56]

ท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ ท่าอากาศยานสต็อกโฮล์มออลันดา (ผู้โดยสาร 16.1 ล้านคนในปี 2009)[57] ตั้งอยู่ทางเหนือของสต็อกโฮล์ม 40 กม. (25 ไมล์) ตามมาด้วย ท่าอากาศยานกอเทนเบิร์กลันด์เวตเตอร์ (ผู้โดยสาร 4.3 ล้านคนในปี 2008) และท่าอากาศยานสต็อกโฮล์มสกอฟสตา (2.0 ล้านคน) สวีเดนเป็นเจ้าของบริษัทท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดสองแห่งในสแกนดิเนเวีย ได้แก่ Port of Göteborg AB (Gothenburg) และบริษัทข้ามชาติ Copenhagen Malmö Port AB

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

[แก้]

สวีเดนถูกจัดอันดับในฐานะของประเทศแห่งนวัตกรรมเป็นอันดับ 2 ของโลก จากการจัดอันดับ the Global Innovation Index 2012 ซึ่งเป็นเวลานับหลายทศวรรษที่สวีเดนได้เป็นศูนย์กลางของนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ของโลก ที่นี่เป็นบ้านเกิดของ Bluetooth, Tetra Pak packaging, Skype  และ Spotify  ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่เป็นความสำเร็จที่ยอดเยี่ยม

สวีเดนมีความโดดเด่นเรื่องโครงสร้างที่เอื้อต่อการพัฒนาและนวัตกรรม โดยสวีเดนอยู่อันดับที่ 1 ใน European innovation scoreboard 2020 จัดทำโดย Maastricht University โครงการภายใต้ European Commission เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพด้านการวิจัยและนวัตกรรมในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป รวมทั้งประเมินจุดแข็งจุดอ่อนของประเทศนั้น ๆ ซึ่งจุดแข็งของสวีเดนคือ ทรัพยากรมนุษย์ ระบบดึงดูดการทำวิจัย และ eco-system ที่ส่งเสริมนวัตกรรม[58]

นวัตกรรมของสวีเดนมีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) อย่างใกล้ชิด โดยรัฐบาลสวีเดนประกาศในโอกาสต่าง ๆ ว่า นวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยสวีเดนบรรลุเป้าหมาย SDGs ทำให้การพัฒนานวัตกรรมต้องตอบโจทย์ความต้องการแก้ไขปัญหาในสังคม ซึ่งแทบทุกปัญหาจะมีความเชื่อมโยงกัน จึงต้องสร้างกระบวนการ (process) ที่ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมและบทบาทในการผลักดัน เช่น การเพิ่มคุณภาพการจัดการอาหาร

พลังงาน

[แก้]

สวีเดนมีตลาดพลังงานขนาดใหญ่ โดยมากมักเป็นพลังงานแปรรูป ตลาดพลังงานนอร์ดิกเป็นหนึ่งในตลาดพลังงานเสรีแห่งแรก ๆ ในยุโรป ในปี 2006 จากการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด 139 TWh ไฟฟ้าจากไฟฟ้าพลังน้ำคิดเป็น 61 TWh (44%) และพลังงานนิวเคลียร์ 65 TWh (47%)

วิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำมันในปี 1973 ตอกย้ำความมุ่งมั่นของสวีเดนในการลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่นำเข้าจากต่างประเทศ ตั้งแต่นั้นมา การผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่มาจากไฟฟ้าพลังน้ำและพลังงานนิวเคลียร์ อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานนิวเคลียร์มีอย่างจำกัด ในเดือนมีนาคม 2005 การสำรวจความคิดเห็นพบว่า 83% สนับสนุนการรักษาหรือเพิ่มพลังงานนิวเคลียร์[59] นักการเมืองได้ประกาศเกี่ยวกับการเลิกใช้น้ำมันในสวีเดน การลดลงของพลังงานนิวเคลียร์ และการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในด้านพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพการใช้พลังงาน[60] ประเทศได้ดำเนินกลยุทธ์การเก็บภาษีทางอ้อมในฐานะเครื่องมือของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมมาหลายปีแล้ว ซึ่งรวมถึงภาษีพลังงานโดยทั่วไปและภาษีคาร์บอนไดออกไซด์โดยเฉพาะ

สาธารณสุข

[แก้]

การดูแลสุขภาพในสวีเดนส่วนใหญ่มาจากเงินภาษี โดยเป็นหลักสากลสำหรับพลเมืองทุกคนและมีกระจายอำนาจอย่างเท่าเทียม[61][62] แม้ว่าการดูแลสุขภาพของเอกชนก็มีอยู่เช่นกัน ระบบการดูแลสุขภาพในสวีเดนได้รับเงินจากภาษีที่เรียกเก็บโดยสภาเทศมณฑลและเทศบาลเป็นหลัก สภาทั้งหมด 21 แห่งรับผิดชอบการดูแลเบื้องต้นและโรงพยาบาลภายในประเทศ การดูแลสุขภาพของเอกชนเป็นสิ่งที่หาได้ยากในสวีเดน และแม้แต่สถาบันเอกชนก็ทำงานภายใต้สภาเทศบาลเมืองที่ได้รับคำสั่ง[63] สภาเทศบาลเมืองควบคุมกฎเกณฑ์และการจัดตั้งแนวปฏิบัติส่วนตัวที่อาจเกิดขึ้น แม้ว่าในประเทศส่วนใหญ่การดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือด้านจิตเวชจะดำเนินการเป็นการส่วนตัว แต่ในสวีเดน หน่วยงานที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสาธารณะมีหน้าที่ดูแลการดูแลประเภทนี้ การดูแลสุขภาพในสวีเดนมีคุณภาพใกล้เคียงกับประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ สวีเดนติดอันดับใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตของทารกต่ำ นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีน้ำดื่มสาธารณะที่สะอาดและปลอดภัย ในปี 2018 การดูแลสุขภาพและการรักษาพยาบาลคิดเป็นประมาณร้อยละ 11 ของค่าจีดีพีทั้งประเทศ

การศึกษา

[แก้]
มหาวิทยาลัยสต็อกโฮล์ม

ตามกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาของสวีเดน เด็กทุกคนที่มีอายุระหว่าง 7 ถึง 16 ปีที่อาศัยอยู่ในประเทศ มีหน้าที่ที่จะต้องไปโรงเรียนซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาภาคบังคับและมีระยะเวลา 9 ปี การศึกษาภาคบังคับนี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดใดทั้งสิ้นเด็กที่มีอายุ 6 ปีก็จะมีสิทธิ์ที่เข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาได้หากผู้ปกครองต้องการ

การศึกษาของสวีเดนแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับคือ ระดับปฐมวัย (Förskola) ระดับประถมศึกษา (Grundskola) เตรียมอุดมศึกษา (Gymnasium) และอุดมศึกษา (Högskola)

มีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยหลายแห่งในสวีเดนซึ่งเก่าแก่[64]และใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ในเมืองอัปซาลา ลุนด์ กอเทนเบิร์ก และสต็อกโฮล์ม ในปี 2000 คนสวีเดน 32% สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทำให้ประเทศนี้อยู่อันดับที่ 5 ใน OECD ในแง่ผู้จบการศึกษา[65] รัฐบาลยังให้เงินอุดหนุนค่าเล่าเรียนสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่กำลังศึกษาระดับปริญญาที่สถาบันในสวีเดนร่วมกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรปอีกหลายประเทศ[66] แม้ว่าร่างกฎหมายล่าสุดที่ผ่านใน Riksdag จะจำกัดเงินอุดหนุนนี้สำหรับนักศึกษาจากประเทศจำนวนผู้อพยพเข้าโรงเรียนในสวีเดนจำนวนมากได้รับการอ้างถึงว่าเป็นส่วนสำคัญของเหตุผลว่าทำไมสวีเดนจึงตกอันดับมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในยุโรปในการจัดอันดับการศึกษา PISA ระดับนานาชาติ[67][68][69]

ภาษี

[แก้]

โดยเฉลี่ย 27% ของเงินจากผู้เสียภาษีในสวีเดนจะถูกนำไปใช้เพื่อการศึกษาและการรักษาพยาบาล ในขณะที่ 5% ใช้ไปกับด้านการทหาร และ 42% ให้กับประกันสังคม[70] คนงานทั่วไปจะได้รับ 40% ของค่าแรงหลังจากหักภาษีแล้ว ภาษีทั้งหมดที่จัดเก็บโดยสวีเดนคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของจีดีพีกว่า 52.3% ในปี 1990 ประเทศเผชิญกับวิกฤตด้านอสังหาริมทรัพย์และการธนาคารในปี 1990-91 และผ่านการปฏิรูปภาษีในปีต่อมา ตั้งแต่ปี 1990 สวีเดนจัดเก็บภาษีได้ลดลง โดยมีอัตราภาษีรวมสำหรับผู้มีรายได้สูงสุดลดลงมากที่สุดในปี 2010 จีดีพีของประเทศมาจากการเก็บเป็นภาษี 45.8% สูงเป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศ OECD และเกือบสองเท่าของเปอร์เซ็นต์ในสหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้

สวัสดิการอื่น ๆ

[แก้]

ผู้มีถิ่นฐานในสวีเดนทุกคนจะได้รับเงินบำนาญจากรัฐ หน่วยงานบำเหน็จบำนาญแห่งสวีเดนมีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องเงินบำนาญ รวมถึงผู้ที่เคยทำงานในสวีเดนแต่ย้ายไปอยู่ต่างประเทศก็สามารถรับเงินบำนาญจากรัฐบาลสวีเดนได้เช่นกัน เงินบำนาญในสวีเดนมีหลายประเภทได้แก่ บำนาญจากการเกษียณอายุ เงินบำนาญอาชีพ และเงื่อนไขส่วนตัว บุคคลสามารถรับเงินบำนาญประเภทต่าง ๆ รวมกันได้[71][72]

ประชากรศาสตร์

[แก้]

ประชากรทั้งหมดของสวีเดนคือ 10,377,781 คน (ตุลาคม 2020)[73] โดยมีประชากรเกิน 10 ล้านคนเป็นครั้งแรกในวันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2017[74][75] ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยอยู่ที่มากกว่า 25 คนต่อตารางกิโลเมตร (65 ต่อตารางไมล์) หรือ 1,437 คนต่อตารางไมล์ในท้องที่ (การตั้งถิ่นฐานอย่างต่อเนื่องโดยมีผู้อยู่อาศัยอย่างน้อย 200 คน) 87% ของประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมืองซึ่งครอบคลุม 1.5% ของพื้นที่ทั้งหมด[76] 63% ของชาวสวีเดนอยู่ในเขตเมืองใหญ่ โดยภูมิภาคทางใต้จะมีประชากรหนาแน่นกว่าทางเหนือมาก เมืองหลวงสต็อกโฮล์มมีประชากรในเขตเทศบาลประมาณ 950,000 คน เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองและสามคือกอเทนเบิร์กและมัลเมอ มหานครกอเทนเบิร์กมีประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคน และเช่นเดียวกันสำหรับพื้นที่ทางตะวันตกของ Scania ริมฝั่งเออเรซุนด์ ภูมิภาค เออเรซุนด์ ซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างเดนมาร์ก-สวีเดน รอบ ๆ เออเรซุนด์ ที่เมืองมัลเมอ มีประชากร 4 ล้านคน

บริเวณนอกเมืองใหญ่ พื้นที่ที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ พื้นที่เกษตรกรรมของเอิสเตอร์เกิทลันด์ ชายฝั่งตะวันตก บริเวณรอบทะเลสาบมาลาเรน และพื้นที่เกษตรกรรมรอบอุปซอลา นอร์ลันด์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 60% ของสวีเดน มีความหนาแน่นของประชากรต่ำมาก (ต่ำกว่า 5 คนต่อตารางกิโลเมตร) ภูเขาและพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ห่างไกลส่วนใหญ่แทบไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ ความหนาแน่นของประชากรต่ำยังมีอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของสวีแลนด์ทางตะวันตก เช่นเดียวกับทางใต้และตอนกลางของสมอลด์ พื้นที่ที่เรียกว่า Finnveden ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ Småland และส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นขนานที่ 57 ก็ถือได้ว่าเกือบจะว่างเปล่าโดยแทบไม่มีผู้คน

ระหว่าง ค.ศ. 1820 ถึง 1930 ชาวสวีเดนประมาณ 1.3 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นหนึ่งในสามของประชากรในประเทศในขณะนั้น อพยพไปยังอเมริกาเหนือ และส่วนใหญ่ไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา มีชาวอเมริกันสวีเดนมากกว่า 4.4 ล้านคนตามการประมาณการของสำนักสำรวจสำมะโนประชากรของสหรัฐในปี 2006 ในแคนาดา ชุมชนบรรพบุรุษของสวีเดนมีมากถึง 330,000 คน

ไม่มีสถิติอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเชื้อชาติ แต่ตามสถิติของสวีเดน ประมาณ 2,634,967 (25.5%) ชาวสวีเดนมีพื้นเพเป็นชาวต่างชาติในปี 2019 ซึ่งกำหนดว่าเกิดในต่างประเทศหรือเกิดในสวีเดนกับบิดา มารดา ที่เกิดในต่างประเทศ ในจำนวนนี้ มี 2,019,733 คนเกิดในต่างประเทศ และ 615,234 คนเกิดในสวีเดนจากบิดา มารดา ที่เกิดในต่างประเทศ นอกจากนี้ 780,199 คนมีบิดามารดาที่เกิดในต่างประเทศกับบิดามารดาอีกหนึ่งคนที่เกิดในสวีเดน

กรุงสต็อกโฮล์ม เมืองหลวงของประเทศ เป็นพื้นที่เขตนครที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศและในภูมิภาคสแกนดิเนเวีย โดยมีประชากรอาศัยกว่า 1 ล้านคนในเขตเทศบาล

ผู้อพยพ

[แก้]

การย้ายถิ่นฐานเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตของจำนวนประชากรและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสังคมของสวีเดนในหลายศตวรรษที่ผ่านมา แง่มุมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของการย้ายถิ่นฐานทำให้เกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับเชื้อชาติ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานสำหรับผู้ไม่อพยพ รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน ผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายทางสังคมที่สูงขึ้น อาชญากรรม และพฤติกรรมในสังคม ไม่มีตัวเลขที่แน่นอนเกี่ยวกับภูมิหลังทางชาติพันธุ์ของผู้อพยพและลูกหลานของพวกเขาในสวีเดน เนื่องจากรัฐบาลสวีเดนไม่ได้อ้างอิงสถิติใด ๆ เกี่ยวกับเชื้อชาติ

ผู้อพยพในสวีเดนส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองของสเวียยาลันด์และเยอตาลันด์[77] ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1970 การอพยพไปยังสวีเดนส่วนใหญ่เกิดจากการอพยพของผู้ลี้ภัยและการรวมครอบครัวจากประเทศในตะวันออกกลางและลาตินอเมริกา[78] ในปี 2019 สวีเดนอนุญาตให้รับผู้ลี้ภัยคน 21,958 คน และ 21,502 คนในปี 2018 ผู้อพยพจากต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดสิบกลุ่มในทะเบียนราษฎรสวีเดนในปี 2019 มาจาก[79]

  1.  ซีเรีย (191,530)
  2.  อิรัก (146,048)
  3.  ฟินแลนด์ (144,561)
  4.  โปแลนด์ (93,722)
  5.  อิหร่าน (80,136)
  6.  โซมาเลีย (70,173)
  7. อดีตยูโกสลาเวีย (64,349)
  8.  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (60,012)
  9.  อัฟกานิสถาน (58,780)
  10.  ตุรกี (51,689)

ศาสนา

[แก้]

ในปี 2006 ชาวสวีเดนประมาณ 6.9 ล้านคนเป็นสมาชิกของคริสตจักรแห่งสวีเดน คิดเป็นร้อยละ 75 ของประชากรทั้งประเทศ โดยจำนวนสมาชิกลดลงเรื่อย ๆทุกปี[80] คริสตจักรแห่งสวีเดนเป็นโบสถ์นิกายลูเธอรัน นิกายโรมันคาทอลิกในสวีเดนมีสมาชิกราว 80,500 คน นอกจากคริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ จากการอพยพเข้า[81] จากการสำรวจ "ยูโรบารอมิเตอร์" ในปี 2005 ร้อยละ 23 ตอบแบบสอบถามว่าเชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริง[82]

ภาษา

[แก้]

ประเทศสวีเดนมีภาษาทางการ โดยมีภาษาสวีเดนเป็นภาษาหลักของประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่พูด สวีเดนรับรองภาษาของชนกลุ่มน้อยห้าภาษา ได้แก่ ภาษาฟินแลนด์ เมแอนเกียลิ (Meänkieli) ภาษาซามิ ภาษาโรมานี และภาษายิดดิช ประเด็นเรื่องการให้ภาษาสวีเดนเป็นภาษาทางการถูกหยิบยกขึ้นมาในปี 2005 แต่การลงคะแนนเสียงในรัฐสภาแพ้ไป 145-147[83]

ภาษาสวีเดนมีคล้ายคลึงกับภาษาเดนมาร์กและนอร์เวย์และสามารถเข้าใจร่วมกันได้ในหลายบริบท แต่แตกต่างกันในด้านการออกเสียงและการสะกดบางคำ ชาวนอร์เวย์และเดนมาร์กสามารถเข้าใจภาษาสวีเดนส่วนมากได้ โดยมีความยากกว่าภาษานอร์สเล็กน้อย ผู้ที่พูดภาษาสวีเดนมาตรฐานสามารถเข้าใจภาษานอร์เวย์ได้ง่ายกว่าภาษาเดนมาร์กมาก ภาษาถิ่นที่พูดกันใน Scania ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศนั้นได้รับอิทธิพลจากภาษาเดนมาร์ก เนื่องจากภูมิภาคนี้เป็นส่วนหนึ่งของเดนมาร์ก และปัจจุบันตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่ดังกล่าว[84]

เนื่องจากการหลั่งไหลเข้ามาของเจ้าของภาษาอาหรับในศตวรรษที่ 21 การใช้ภาษาอาหรับจึงมีแนวโน้มแพร่หลายในประเทศมากกว่าภาษาฟินแลนด์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีการเก็บสถิติอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการใช้ภาษา

ชาวสวีเดนสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีเช่นเดียวกับเพื่อนบ้านประเทศสแกนดิเนเวียอื่น ๆ โดยเฉพาะจากการมีระบบการศึกษาที่พัฒนาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองในวิชาบังคับทุกโรงเรียนตั้งแต่ปี 1940[85] โดย Eurobarometer ได้สำรวจประชากรและพบว่า 89% ของชาวสวีเดนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี และสถานที่สาธารณะจะปรากฏภาษาอังกฤษให้เห็นเสมอ

วัฒนธรรม

[แก้]
เซลมา ลอเกร์เลิฟ นักเขียนชื่อดัง ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

สวีเดนมีนักเขียนหลายคนที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก รวมถึง ออกัสต์ สตรินด์เบิร์ก, แอสตริด ลินด์เกรน, เซลมา ลอเกร์เลิฟ และ แฮร์รี มาร์ตินสัน สวีเดนมีผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมทั้งหมด 7 คน[86] ศิลปินที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศ ได้แก่ จิตรกร เช่น คาร์ล ลาร์สสัน และ แอนเดอร์ ซอร์น และประติมากร โยฮัน โทเบียส เซอร์เกล และ คาร์ล มิลเลส

วัฒนธรรมสมัยศตวรรษที่ 20 ของสวีเดนเป็นที่รู้จักจากผลงานบุกเบิกในยุคแรก ๆ ในวงการภาพยนตร์ โดยมี เมาริตซ์ สติลเลอร์ และ วิคเตอร์ เซสเตริม เป็นสองผู้กำกับที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในแง่การปฏิวัติวงการภาพยนตร์ของนอร์ดิก[87] ในช่วงทศวรรษที่ 1920-1980 ผู้สร้างภาพยนตร์ อิงมาร์ เบิร์กแมน และ นักแสดง เกรทา การ์โบ และ อิงกริด เบิร์กแมน ได้กลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติในวงการภาพยนตร์ เมื่อไม่นานมานี้ ภาพยนตร์ของ ลูคัส มูดิสสัน , ลาสซี่ ฮอลสตรอม และ รูเบน ออสต์ลุนด์ ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

ตลอดช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970[88] สวีเดนถูกมองว่าเป็นผู้นำระดับนานาชาติใน "การปฏิวัติทางเพศ"[89] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ[90] ภาพยนตร์สวีเดนยุคแรก I Am Curious (Yellow) (1967) สะท้อนมุมมองเสรีนิยมเรื่องเพศ รวมถึงฉากแสดงความรักที่ได้รับความสนใจจากนานาชาติ เสรีนิยมทางเพศถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปรับปรุงให้ทันสมัย ​​โดยการทำลายจารีตประเพณีเดิมอันนำไปสู่การปลดปล่อยพลังและความปรารถนาตามธรรมชาติ[91] สวีเดนยังเปิดกว้างต่อการรักร่วมเพศอย่างมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นในภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมเช่น Show Me Love ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับเลสเบี้ยนสาวสองคนในเมือง Åmål ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ของสวีเดน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2009 สวีเดนได้ยกเลิกกฎหมาย "หุ้นส่วนจดทะเบียน" และแทนที่ด้วยการแต่งงานที่เป็นกลางทางเพศโดยสมบูรณ์[92] สวีเดนยังเสนอการจดทะเบียนหุ้นส่วนภายในประเทศสำหรับคู่รักเพศเดียวกันและคู่รักเพศตรงข้ามอีกด้วย การอยู่ร่วมกัน (sammanboende) โดยคู่รักทุกวัยรวมทั้งวัยรุ่นและคู่สามีภรรยาสูงอายุเป็นที่แพร่หลาย[93] นับตั้งแต่ปี 2009 สวีเดนกำลังประสบปัญหาทางสังคมในการเปลี่ยนถ่ายไปสู่ยุค Baby Boomer หรือสังคมผู้สูงอายุ[94]

สถาปัตยกรรม

[แก้]
Ericsson Globe อาคารครึ่งวงกลมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับสอง

ก่อนศตวรรษที่ 13 อาคารเกือบทั้งหมดทำจากไม้ แต่เริ่มเปลี่ยนไปใช้หินในภายหลัง[95] อาคารหินของสวีเดนยุคแรกเป็นโบสถ์แบบโรมาเนสก์ที่ฝั่งชนบท หลาย ๆ แห่งได้รับการสร้างขึ้น และมีผลกับโบสถ์ในเดนมาร์ก ซึ่งรวมถึงโบสถ์ลุนด์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 และโบสถ์ที่มีอายุน้อยกว่าในดัลบี แต่ยังรวมถึงโบสถ์แบบโกธิกยุคแรก ๆ อีกหลายแห่งที่สร้างขึ้นจากอิทธิพลของสันนิบาตฮันเซียติก เช่น ในเมืองอีสตัด มัลเมอ และเฮ็ลซิงบอร์ย วิหารในส่วนอื่น ๆ ของสวีเดนยังถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่นั่งของมุขนายกของสวีเดน มหาวิหารสการาสร้างด้วยอิฐจากศตวรรษที่ 14 และมหาวิหารอุปซอลาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในปี ค.ศ. 1230 ฐานรากของมหาวิหารลินเชอปิงถูกสร้างขึ้น วัสดุเป็นหินปูน แต่ตัวอาคารใช้เวลาสร้างประมาณ 250 ปี

ในอีกสองศตวรรษต่อมา สวีเดนมีระบบสถาปัตยกรรมแบบบาโรก และต่อมาเป็นสถาปัตยกรรมโรโกโก โครงการเด่นในช่วงเวลานั้น ได้แก่ เมืองคอลส์ครูนา ซึ่งปัจจุบันได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกและพระราชวังดร็อตนิงฮ็อล์มด้วย ค.ศ. 1930 เป็นปีแห่งการจัดนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ในสต็อกโฮล์ม ซึ่งเป็นการบุกเบิกของ สถาปัตยกรรมคำนึงประโยชน์ หรือ "funkis" เมื่อกลายเป็นที่รู้จัก สไตล์นี้เข้ามามีบทบาทในงานก่อสร้างในสวีเดนในทศวรรษต่อมา โครงการเด่น ๆ ในประเภทนี้ ได้แก่ โครงการ Million Programme ซึ่งเป็นที่พักอาศัยในอพาร์ตเมนต์ขนาดใหญ่ในราคาไม่แพง Ericsson Globe เป็นอาคารครึ่งวงกลมที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีรูปร่างเหมือนลูกบอลสีขาวขนาดใหญ่ และใช้เวลาสร้างสองปีครึ่ง ตั้งอยู่ในสต็อกโฮล์ม[96]

ดนตรี

[แก้]

มีการพยายามสร้างดนตรีนอร์สขึ้นใหม่ตามประวัติศาสตร์โดยใช้เครื่องมือที่พบในแหล่งไวกิง เครื่องดนตรีที่ใช้คือ ลูร์ (แตรชนิดหนึ่ง) เครื่องสายธรรมดา ขลุ่ยไม้ และกลอง สวีเดนมีดนตรีพื้นบ้านที่สำคัญคือ joik ซึ่งเป็นเพลงประเภท ซามี เป็นบทสวดที่เป็นส่วนหนึ่งของจิตวิญญาณของชาวซามี แบบดั้งเดิม นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Carl Michael Bellman และ Franz Berwald สวีเดนยังมีประเพณีการขับร้องประสานเสียงที่โดดเด่นอีกด้วย[97][98] จากจำนวนประชากร 9.5 ล้านคน ประมาณว่าห้าถึงหกแสนคนมีความสามารถการร้องเพลงประสานเสียงกัน[99] ในปี 2007 ด้วยรายรับมากกว่า 800 ล้านดอลลาร์ สวีเดนเป็นผู้ส่งออกเพลงรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลกเป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเท่านั้น[100] สวีเดนมีเพลงแจ๊สที่ค่อนข้างมีชีวิตชีวา ศูนย์วิจัยดนตรีพื้นบ้านและดนตรีแจ๊สแห่งสวีเดนได้ตีพิมพ์ผลงานภาพรวมของดนตรีแจ๊สในสวีเดนโดย ลาร์ส เวสติน

แฟชั่น

[แก้]
Hennes & Mauritz ยี่ห้อเสื้อผ้าชื่อดังของสวีเดน

ความสนใจแฟชั่นเป็นเรื่องสำคัญในสวีเดน[101][102] และประเทศนี้มีสำนักงานใหญ่ของยี่ห้อดังอย่าง Hennes & Mauritz (รู้จักในนาม H&M)[103], J. Lindeberg (รู้จักในนาม JL) อย่างไรก็ตาม บริษัทเหล่านี้ประกอบด้วยผู้ซื้อส่วนใหญ่ที่นำเข้าสินค้าแฟชั่นจากทั่วยุโรปและอเมริกา โดยยังคงมีแนวโน้มของธุรกิจสวีเดนในการพึ่งพาเศรษฐกิจข้ามชาติเช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง

อาหาร

[แก้]
Köttbullar อาหารของสวีเดน

 อาหารประจำชาติของประเทศสวีเดนคล้ายกับอาหารของแถบสแกนดิเนเวีย[104] เช่น ปลา (herring), ปลาเปรี้ยว (pickled herring) และไข่ปลาคาเวียร์ แต่ที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือลูกชิ้นสวีเดนหรือที่เรียกกันว่า Köttbullar มีลักษณะเป็นลูกชิ้นที่ปรุงรสแล้วมีทั้งเนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อวัว กินกับมันฝรั่ง ซอส และควบคู่ไปกับแยมผลไม้ แยมจะมีรสหวานกินง่าย คนสวีเดนส่วนมากจะกินเนื้อสัตว์กับแยมผลไม้ เพื่อเป็นการเพิ่มรสชาติของอาหารและแก้เลี่ยน[105][106]

สื่อมวลชน

[แก้]

ชาวสวีเดนเป็นหนึ่งในผู้บริโภคหนังสือพิมพ์รายใหญ่ที่สุดของโลก และเกือบทุกเมืองมีหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นให้บริการ หนังสือพิมพ์อ่านตอนเช้าที่มีคุณภาพหลักของประเทศ ได้แก่ Dagens Nyheter (เสรีนิยม), Göteborgs-Posten (เสรีนิยม), Svenska Dagbladet (อนุรักษ์นิยมแบบเสรีนิยม) และ Sydsvenska Dagbladet (เสรีนิยม) หนังสือพิมพ์รายวันที่ใหญ่ที่สุดสองรายการคือ Aftonbladet (สังคมประชาธิปไตย) และ Expressen (เสรีนิยม) และยังมี Metro International หนังสือพิมพ์นานาชาติซึ่งแจกฟรี ก่อตั้งขึ้นในสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ข่าวของประเทศนี้รายงานเป็นภาษาอังกฤษโดย[107]

บริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงสาธารณะผูกขาดวิทยุและโทรทัศน์ในสวีเดนมาเป็นเวลานาน การอนุญาตวิทยุกระจายเสียงเริ่มต้นในปี 1925 เครือข่ายวิทยุที่สองเริ่มต้นในปี 1954 และเครือข่ายที่สามในปี 1962 เพื่อตอบสนองต่อการปเดสถานีวิทยุที่ละเมิดลิขสิทธิ์ วิทยุชุมชนที่ไม่แสวงหากำไรได้รับอนุญาตในปี 1979 และในปี 1993 วิทยุท้องถิ่นเชิงพาณิชย์ได้เริ่มดำเนินการ บริการโทรทัศน์ที่ได้รับทุนจากใบอนุญาตเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 1956 ช่องที่สองคือ TV2 เปิดตัวในปี 1969 สองช่องนี้ (ดำเนินการโดย Sveriges Television ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1970) ได้ผูกขาดการออกอากาศจนกระทั่งช่วงทศวรรษ 1980 เมื่อเคเบิลทีวีและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเปิดให้บริการ บริการดาวเทียมภาษาสวีเดนครั้งแรกคือ TV3 ซึ่งเริ่มออกอากาศจากลอนดอนในปี 1987 ตามด้วย Kanal 5 ในปี 1989 (ขณะนั้นรู้จักกันในชื่อ Nordic Channel) และ TV4 ในปี 1990

กีฬา

[แก้]

กิจกรรมกีฬาเป็นกิจกรรมหลักของชาติโดยมีประชากรกว่าครึ่งหนึ่งเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาที่จัดขึ้นโดยรัฐบาล กีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดสองประเภท คือ ฟุตบอล และฮอกกี้น้ำแข็ง รองจากฟุตบอล กีฬาขี่ม้า (ซึ่งผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง) มีจำนวนผู้ฝึกหัดมากที่สุด นอกจากนี้ กอล์ฟ โอเรียนเทียริ่ง ยิมนาสติก และกีฬาประเภททีมของฮอกกี้น้ำแข็ง แฮนด์บอล ฟลอร์บอล บาสเก็ตบอล และวงดนตรีเป็นที่นิยมมากที่สุดเช่นกัน[108]

ฮอกกี้น้ำแข็งชายทีมชาติสวีเดน หรือที่รู้จักกันในนาม Tre Kronor (อังกฤษ: Three Crowns; สัญลักษณ์ประจำชาติของสวีเดน) ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในทีมที่ดีที่สุดในโลก[109] ชนะเลิศการแข่งขันชิงแชมป์โลกถึงเก้าครั้ง[110] และรั้งอันดับสามในการนับเหรียญรางวัลรวมในการแข่งขันตลอดกาล และยังได้รับรางวัลเหรียญทองโอลิมปิกในปี 1994 และ 2006 ในปี 2006 ทีมนี้กลายเป็นทีมฮอกกี้ระดับชาติทีมแรกที่ชนะทั้งโอลิมปิกและชิงแชมป์โลกในปีเดียวกัน และกรีฑาถือว่าได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จหลายคนในช่วงที่ผ่านมา ปี เช่น Carolina Klüft และ Stefan Holm

ฟุตบอล

[แก้]
ฟุตบอลทีมชาติสวีเดนในการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2016

ฟุตบอลทีมชาติสวีเดนประสบความสำเร็จในการแข่งขันฟุตบอลโลกพอสมควร โดยเข้าร่วมการแข่งขันรอบสุดท้ายถึง 17 ครั้ง ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศเมื่อเป็นตนเองเจ้าภาพในฟุตบอลโลก 1958[111] และอันดับสามอีกสองครั้งในปี 1950 และ 1954 และเข้าร่วมฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 7 ครั้ง มีนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น นิลส์ ลีดโฮล์ม, เฮ็นริก ลอช็อน, เฟรียดริก ยุงแบร์ย, แคโรลีน ซีเกอร์ และซลาตัน อิบราฮีมอวิช

วันหยุด

[แก้]

นอกเหนือจากวันหยุดตามประเพณีของชาวคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ สวีเดนยังฉลองวันหยุดพิเศษบางอย่างซึ่งเป็นประเพณีก่อนคริสต์ศักราช พวกเขาจะร่วมฉลอง Walpurgis Night (Valborgsmässoafton) ในวันที่ 30 เมษายนด้วยการจุดไฟซึ่งเป็นวันฉลองของชาวคริสต์ของ Saint Walpurga[112] เป็นนักุญที่นับถือศาสนาคริสต์ในศตวรรษที่ 8[113] และวันแรงงานหรือวันแรงงานตรงกับ วันที่ 1 พฤษภาคม อุทิศให้กับการประท้วงสังคมนิยม วันแห่งแสงสว่างของนักบุญลูเซียซึ่งเป็นวันที่ 13 ธันวาคม เป็นที่ทราบกันดีในการเฉลิมฉลองอันวิจิตรบรรจงซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอิตาลีและเริ่มเทศกาลคริสต์มาสที่ยาวนานหนึ่งเดือน และ 6 มิถุนายน เป็นวันชาติของสวีเดน[114] และตั้งแต่ปี 2005 ถือเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ นอกจากนี้ยังมีการฉลองวันโบกธงอย่างเป็นทางการและปฏิทิน Namesdays ในสวีเดนในเดือนสิงหาคม ชาวสวีเดนจำนวนมากมีงาน kräftskivor (งานเลี้ยงอาหารค่ำ) โดยจะเสิร์ฟห่านย่างและสวาร์ตซอปปา ('ซุปดำ' ที่ทำจากน้ำสต๊อกห่าน ผลไม้ เครื่องเทศ สุรา และเลือดห่าน)

การจัดอันดับนานาชาติ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหมดต้องนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ประจำคริสตจักรแห่งสวีเดน แต่นิกายโปรเตสแตนต์ไม่ได้มีสถานะศาสนาประจำชาติมาตั้งแต่ ค.ศ. 2000[3][4][5] อย่างไรก็ตาม คริสต์จักรนี้ได้รับการยอมรับทางกฎหมาย[6] และภาครัฐยังคงสนัสนุนอยู่[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Mottoes of The Kings and Queens of Sweden". www.kungahuset.se. Royal Court of Sweden. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2015.
  2. "Number of persons with foreign or Swedish background (detailed division) by region, age and sex. Year 2002 - 2019". SCB.se. Statistics Sweden. 31 December 2019. สืบค้นเมื่อ 19 January 2021.
  3. "The Act of Succession". The Riksdag. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-24. สืบค้นเมื่อ 24 October 2014.
  4. Nergelius: pp. 42–44.
  5. "Svenska kyrkan i siffror". Church of Sweden (Svenska kyrkan).
  6. ."SFS 1998:1591" เก็บถาวร 2011-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Riksdagen
  7. "Church of Sweden". www.sweden.org.za. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-16. สืบค้นเมื่อ 8 August 2020.
  8. "Religions in Sweden | PEW-GRF". www.globalreligiousfutures.org. สืบค้นเมื่อ 8 August 2020.
  9. Hackett, Conrad. "5 facts about the Muslim population in Europe". Pew Research/Fact Tank. Pew Research Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2018. สืบค้นเมื่อ 12 December 2017.
  10. Norborg, Lars-Arne. "svensk–norska unionen". ne.se (ภาษาสวีเดน). Nationalencyklopedin. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2016. สืบค้นเมื่อ 6 August 2015.
  11. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  12. [1] Statistics Sweden. Retrieved 8 July 2021.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 "World Economic Outlook Database, October 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 8 January 2020.
  14. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
  15. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  16. "Språklag (2009:600)" (ภาษาสวีเดน). Riksdag. 28 May 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2014. สืบค้นเมื่อ 10 November 2014.
  17. Landes, David (1 July 2009). "Swedish becomes official 'main language'". The Local. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2013. สืบค้นเมื่อ 15 July 2009.
  18. "Är svenskan också officiellt språk i Sverige?" [Is Swedish also an official language in Sweden?] (ภาษาสวีเดน). Swedish Language Council. 1 February 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2014. สืบค้นเมื่อ 22 June 2008.
  19. "Statistical database - Select variable and values". Statistikdatabasen.scb.se. 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 3 June 2020.
  20. "Värre än forskarna anat: Digerdöden". Forskning & Framsteg (ภาษาสวีเดน). 2012-12-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-08. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
  21. "Digerdöden | Historiska Museet". historiska.se (ภาษาสวีเดน).
  22. "WikiLeaks reveal Swedes gave intel on Russia, Iran". The Washington Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  23. "History of Sweden – more than Vikings | Official site of Sweden". sweden.se (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2015-12-03.
  24. https://www.thelocal.se/20140815/sweden-celebrates-200-years-of-peace/
  25. "The Ups and Downs of the Swedish Welfare State: General Trends, Benefits and Caregiving". New Politics (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  26. "Sweden - Employment, Social Affairs & Inclusion - European Commission". ec.europa.eu.
  27. "Constitutional Rights Foundation". www.crf-usa.org.
  28. "Global Competitiveness | World Economic Forum - Global Competitiveness". web.archive.org. 2014-12-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-10. สืบค้นเมื่อ 2021-09-03.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  29. https://www.oecdbetterlifeindex.org/#/11111111111
  30. "Ukraine war: Sweden and Finland confirm Nato plans in historic shift". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-05-15. สืบค้นเมื่อ 2022-06-02.
  31. "Sweden". gtb.ivdnt.org.
  32. "Home : Oxford English Dictionary". www.oed.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-08. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
  33. "Sweden | History, Flag, Map, Population, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  34. "Sweden geography, maps, climate, environment and terrain from Sweden | - CountryReports". www.countryreports.org.
  35. "Sweden". Geography (ภาษาอังกฤษ). 2014-03-21.
  36. "สวีเดน: ประวัติศาสตร์และข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์". สวีเดน: ประวัติศาสตร์และข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์. 2019-11-08.
  37. "History of Sweden – more than Vikings | Official site of Sweden". sweden.se (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2015-12-03.
  38. "A SHORT HISTORY OF SWEDEN". Local Histories (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-03-14.
  39. "Sweden | HISTORY Channel". The HISTORY Channel (ภาษาอังกฤษ).
  40. The Head of State เว็บไซต์รัฐบาลสวีเดน (อังกฤษ)
  41. The Constitution เก็บถาวร 2011-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์รัฐสภาสวีเดน (อังกฤษ)
  42. Elections เก็บถาวร 2007-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์รัฐสภาสวีเดน (อังกฤษ)
  43. 43.0 43.1 43.2 ข้อมูลประเทศสวีเดน เก็บถาวร 2007-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทย
  44. "Finland: Now, the Seven and a Half - TIME". web.archive.org. 2011-11-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.
  45. Forces, Swedish Armed. "The Swedish Armed Forces". Försvarsmakten (ภาษาอังกฤษ).
  46. Stockholm, Reuters in (2020-10-15). "Sweden to increase military spending by 40% as tension with Russia grows". the Guardian (ภาษาอังกฤษ).
  47. "2021 Sweden Military Strength". www.globalfirepower.com.
  48. Sweden กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ (อังกฤษ)
  49. http://www.weforum.org/pdf/Global_Competitiveness_Reports/Reports/gcr_2006/sweden.pdf (อังกฤษ)
  50. http://www.law.nyu.edu/centralbankscenter/texts/Swedish%20Central%20Bank-introduction.html เก็บถาวร 2006-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  51. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cia
  52. Sweden says No to euro บีบีซีนิวส์ 15 กันยายน 2546 (อังกฤษ)
  53. https://visitsweden.com/what-to-do/sights-landmarks/swedens-unesco-world-heritage-sites/
  54. "Sweden — Transportation". www.iexplore.com.
  55. "Public transportation". visitsweden.com (ภาษาอังกฤษ).
  56. Regeringskansliet, Regeringen och (2014-11-07). "Transport and infrastructure". Regeringskansliet (ภาษาอังกฤษ).
  57. "Airports in Sweden, arrival info on Swedish airports". All about buses (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  58. "ข้อมูลเกี่ยวกับสวีเดน – Royal Thai Embassy Stockholm".
  59. "Nuclear Energy in Sweden - World Nuclear Association". world-nuclear.org.
  60. "Sweden plans to be world's first oil-free economy". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2006-02-08.
  61. "Improving Quality and Value for Money in Healthcare | READ online". oecd-ilibrary.org.
  62. "Getting Better Value for Money from Sweden's Healthcare System | READ online". oecd-ilibrary.org.
  63. "Healthcare in Sweden". sweden.se (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-05-05.
  64. "How the pension system works". collectum.se (ภาษาอังกฤษ).
  65. "Countries Compared by Education > Educational attainment > Tertiary. International Statistics at NationMaster.com". www.nationmaster.com.
  66. "Sweden introduces tuition fees and offers scholarships for students from outside EU – Study in Sweden – SWEDEN.SE". web.archive.org. 2010-06-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-28. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  67. "Sweden thinks its low test scores are because of immigrants - and it plans to do something about it". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2016-03-16.
  68. "What's behind the rising inequality in Sweden's schools, and can it be fixed? - The Local". web.archive.org. 2018-11-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-25. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  69. "Why Sweden's free schools are failing". New Statesman (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-06-18.
  70. "Offentliga sektorns utgifter". Ekonomifakta (ภาษาสวีเดน).
  71. "Pension system in Sweden | Pensionsmyndigheten". www.pensionsmyndigheten.se (ภาษาอังกฤษ).
  72. "Retirement pension in Sweden | Nordic cooperation". www.norden.org (ภาษาอังกฤษ).
  73. "Befolkningsstatistik". Statistiska Centralbyrån (ภาษาสวีเดน).
  74. https://sverigesradio.se/artikel/6610701
  75. https://www.thelocal.se/20170120/swedens-population-reaches-historic-ten-million-milestone/
  76. https://www.scb.se/contentassets/745b357fd3b74ffd934fc4004ce5cf62/mi0810_2018a01_sm_mi38sm1901.pdf
  77. "Tabeller över Sveriges befolkning 2009 - Statistiska centralbyrån". web.archive.org. 2011-08-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-12. สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  78. "Migration Information Source". migrationpolicy.org (ภาษาอังกฤษ).
  79. "Population by country of birth, age and sex. Year 2000 - 2020". Statistikdatabasen.
  80. สถิติสมาชิกคริสตจักรแห่งสวีเดน ปี 1972-2006 เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สวีเดน)
  81. Charlotte Celsing. Are Swedes losing their religion? เก็บถาวร 2007-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 1 ก.ย. 2549 เรียกข้อมูลวันที่ 31 ก.ค. 2550 (อังกฤษ)
  82. รายงานผลการสำรวจยูโรบารอมิเตอร์ (อังกฤษ)
  83. Svenskan blir inte officiellt språk, Sveriges Television, 2005-12-07. เรียกข้อมูลวันที่ 25 ก.พ. 2551 (สวีเดน)
  84. https://web.archive.org/web/20131116073533/http://ec.europa.eu/education/languages/pdf/doc631_en.pdf
  85. "English spoken - fast ibland hellre än bra". web.archive.org. 2006-01-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-06. สืบค้นเมื่อ 2021-09-08.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  86. Hayward, Claire (2012-07-05). "Sweden's Literary Nobelists". Culture Trip.
  87. "Mauritz Stiller | Swedish director". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  88. "Swedish Liberal Attitude Towards Sex - Feminism, Stereotypes & Nudity". Hej Sweden (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-09-23.
  89. Schmidt, William E. (1992-03-22). "THE WORLD; Sweden Redefines Sexual Revolution". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.
  90. "Opinion | Sweden's Experience As a Sexual Paradise". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1986-07-30. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.
  91. "The Swedish myths: True, false or somewhere in between? - SWEDEN.SE". web.archive.org. 2010-09-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-17. สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  92. Marklund, Carl (2009-07-13). "Hot Love and Cold People. Sexual Liberalism as Political Escapism in Radical Sweden". doi:10.18452/7999. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  93. "Sweden passes new gay marriage law - The Local". web.archive.org. 2009-04-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-10. สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  94. "Babyboom i Sverige? - www.scb.se". web.archive.org. 2009-07-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-30. สืบค้นเมื่อ 2021-10-13.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  95. "Swedish architecture". sweden.se (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2015-10-29.
  96. "Top 9 Swedish architecture must-sees". visitsweden.com (ภาษาอังกฤษ).
  97. "Monica Zetterlund, jazz singer and Swedish Sensation". www.europeana.eu (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  98. "Top swedish jazz artists". Last.fm (ภาษาอังกฤษ).
  99. Durant, Colin (2003). Choral Conducting: philosophy and practice. Routledge. pp. 46–47.
  100. "Consulate General of Sweden - Export Music Sweden at MuseExpo". web.archive.org. 2008-06-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-15. สืบค้นเมื่อ 2021-09-27.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  101. McCrory, Sorcha (2020-04-28). "Everything You Need to Know About Swedish Fashion". Scandinavia Standard (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  102. "Swedish fashion – a story of substance and style". visitsweden.com (ภาษาอังกฤษ).
  103. "H&M offers fashion and quality at the best price". H&M (ภาษาอังกฤษ).
  104. "Swedish food culture - local produce, international flavours and forward thinking". visitsweden.com (ภาษาอังกฤษ).
  105. "10 things to know about Swedish food". sweden.se (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2013-05-27.
  106. Stapelberg, Johanna. "20 Delicious Foods and Dishes From Sweden". Culture Trip.
  107. Olson, Kenneth E. (1966). The history makers;: The press of Europe from its beginnings through 1965. LSU Press. pp. 33–49.
  108. "Sport in Sweden". www.topendsports.com.
  109. Gömd, SKRIBENT: Daniel Blomqvist E.-POST: Adressen. "Landslag". Svenska Ishockeyförbundet (ภาษาสวีเดน).
  110. "Tre Kronor's winning ways". webarchive.iihf.com.
  111. "FIFA". fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
  112. Online, Catholic. "St. Walburga - Saints & Angels". Catholic Online (ภาษาอังกฤษ).
  113. "Saint Walpurga". World History Encyclopedia (ภาษาอังกฤษ).
  114. "NATIONAL DAY OF SWEDEN - June 6". National Day Calendar (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  115. "Human Development Report 2006" (PDF). สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-02-02. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31. (อังกฤษ)
  116. "Worldwide Press Freedom Index 2007". องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-17. สืบค้นเมื่อ 2007-10-19. (อังกฤษ)
  117. "Corruption Perceptions Index 2007". Transparency International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-28. สืบค้นเมื่อ 2007-10-19. (อังกฤษ)
  118. "สวิตเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และ สวีเดน ติด 3 อันดับแรกประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุดในโลก". ThaiEurope.net. 2006-09-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-18. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  119. "US loses top competitiveness spot". BBC News. 2006-09-26. สืบค้นเมื่อ 2007-05-28. (อังกฤษ)
  120. Save the Children. State of the World's Mothers เก็บถาวร 2010-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ภาครัฐ

สื่อข่าว

การค้า

การเดินทาง

  • VisitSweden.com – เว็บไซต์การท่องเที่ยวและการเดินทางของสวีเดน