ข้ามไปเนื้อหา

ปลิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลิง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคไซลูเรียน–ปัจจุบัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Annelida
ชั้น: Clitellata
ชั้นย่อย: Hirudinea
Lamarck, 1818
สกุล: Macrobdella
Orders

Arhynchobdellida or Rhynchobdellida
There is some dispute as to whether Hirudinea should be a class itself, or a subclass of the Clitellata.

ปลิง จัดอยู่ในไฟลัมแอนเนลิดา ลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้องและยืดหยุ่น ชอบอยู่ในน้ำนิ่งตามหนอง และอยู่ตามพื้นที่ชื้นแฉะเช่นบริเวณป่าดงดิบเขตร้อน ดำรงชีพโดยการดูดเลือดสัตว์อื่น รวมทั้งเลือดมนุษย์อีกด้วย

การดำรงชีวิต

[แก้]

ปลิงดำรงชีวิตด้วยการดูดเลือดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์เลื้อยคลาน และ ปลาบางชนิดเป็นอาหาร และเนื่องจากไม่มีดวงตาจึงอาศัยการจับแรงสั่นสะเทือนจากการเคลื่อนไหวของเหยื่อด้วยแรงสั่นสะเทือนในน้ำ มันจะคอยชูตัวอยู่ตามพื้นดินหรือไต่ขึ้นไปบนกิ่งไม้ มีสัมผัสที่ไวต่อกลิ่นและอุณหภูมิ เมื่อเหยื่อเข้าใกล้มันจะใช้อวัยวะที่เรียกว่าแว่นดูด (Sucker) เกาะเข้ากับตัวเหยื่อ ซึ่งอวัยวะนี้มีทั้งด้านหน้าและด้านท้าย โดยมันจะใช้แว่นท้ายในการยึดเกาะ

เมื่อมันสามารถเกาะผิวเนื้อของเหยื่อแล้วมันจะค่อยๆ ไต่อย่างแผ่วเบาเพื่อหาที่ซ่อนตัว (ในช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 80-90 วินาที ที่เราจะปัดหรือดึงปลิงออกโดยไม่ต้องเสียเลือด) หลังจากนั้นมันจะใช้แว่นหน้าลงบนผิวเนื้อของเหยื่อเพื่อดูดเลือด โดยปลิงจะปล่อยสารชนิดหนึ่งคล้ายกับยาชาและเวลาที่ปลิงดูดเลือดมันจะปล่อยสารออกมา 2 ชนิด ซึ่งได้แก่ สารฮีสตามีน (Histamine) ช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว และสารฮีรูดีน (Hirudin) มีคุณสมบัติต้านทานการแข็งตัวของเลือด (ด้วยเหตุนี้เลือดของเหยื่อจะไหลไม่หยุด)

เมื่อปลิงอิ่มจนมีลักษณะตัวอ้วนบวมแล้ว มันจะปล่อยตัวร่วงลงสู่พื้นดินเอง

การห้ามเลือดหลังจากโดนปลิง

[แก้]

ใช้ใบสาบเสือ (หญ้าเสือหมอบ) ยาเส้นหรือยาฉุนมาขยี้ปิดบาดแผล

ประโยชน์ทางด้านการแพทย์

[แก้]

วงการแพทย์สมัยโบราณมีการนำปลิงมาดูดพิษหรือเลือดเสียออกจากร่างกาย ในปัจจุบันแพทย์นำคุณสมบัติของปลิงมาทำให้เส้นเลือดในร่างกายไม่อุดตัน โดยเฉพาะเส้นเลือดหัวใจหรือนำมาช่วยให้เลือดในร่างกายหมุนเวียนได้ดีขึ้น

การแก้ไขหลังจากโดนปลิงกัด ให้ใช้มวนบุหรี่ ปิดที่แผลที่โดนปลิงกัด เพราะมวนบุหรี่มีสารนิโคตินที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวสังเกตได้จากผู้ที่สูบบุหรี่จะรู้สึกปวดหัว เพราะสารนิโคตินทำให้ให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมองช้า[ต้องการอ้างอิง]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]