ยุทธการที่อู่ฮั่น
ยุทธการที่อู่ฮั่น | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง | |||||||||
รังปืนกลของฝ่ายจีน | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
ได้รับการสนับสนุนจาก: สหภาพโซเวียต (อาสาสมัคร) | จักรวรรดิญี่ปุ่น | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
เจียง ไคเชก เฉิน เฉิง เซฺว เยฺว่ Bai Chongxi Wu Qiwei Zhang Fakui Wang Jingjiu Ou Zhen Zhang Zizhong Li Zongren Sun Lianzhong |
เจ้าชายโคะโตะฮิโตะ เจ้าคังอิน ยะสุจิ โอคามูระ ชุนโรกุ ฮาตะ เจ้าชายนารูฮิโกะ เจ้าฮิงาชิกูนิ Shizuichi Tanaka Kesago Nakajima | ||||||||
กำลัง | |||||||||
1,100,000 (at Wuhan)[2] 2,000,000 (in the region)[3] 200 aircraft 30 gunboats[4] |
350,000[5]-400,000[2] c. 500 aircraft[6] over 100 vessels[7] | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
654,628+[8]-1,000,000[9] |
Chinese claim: 256,000[10] Japanese claim: 31,486-70,000 killed and wounded 105,945+ cases of illness[10] |
ยุทธการที่อู่ฮั่น | |||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 武漢會戰 | ||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 武汉会战 | ||||||
| |||||||
Defense of Wuhan | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 武漢保衛戰 | ||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 武汉保卫战 | ||||||
| |||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||
คันจิ | 武漢攻略戦 | ||||||
|
ยุทธการที่อู่ฮั่น เป็นที่ชาวจีนรู้จักกันดีว่า การป้องกันอู่ฮั่น และที่ญี่ปุ่นได้เรียกว่า การยึดครองอู่ฮั่น เป็นการสู้รบขนาดใหญ่ในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง การต่อสู้รบครั้งนี้ได้เกิดขึ้นในบริเวณหลายพื้นที่ของมณฑลอันฮุย เหอหนาน เจียงซี เจ้อเจียง และหูเป่ย ซึ่งกินเป็นเวลานานกว่าสี่เดือนครึ่ง ยุทธการนี้เป็นการรบที่ยือเยื้อยาวนาน ขนาดใหญ่ และสำคัญมากที่สุดในช่วงระยะแรกในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ทหารของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนจำนวนกว่าหนึ่งล้านนายจากเขตสงครามที่ห้าและเก้าซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงจากเจียงไคเชก การป้องกันอู่ฮั่นจากกองทัพพื้นที่จีนตอนกลางของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นภายใต้การนำโดยชุนโรกุ ฮาตะ ฝ่ายกองทัพจีนยังได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทหารอาสาสมัครโซเวียต, กลุ่มนักบินอาสาสมัครจากกองทัพอากาศโซเวียต[11]
แม้ว่าการสู้รบได้จบลงด้วยการเข้ายึดครองอู่ฮั่นในที่สุดโดยกองทัพญี่ปุ่น แต่ก็ได้ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและล้มตายอย่างมากต่อทั้งสองฝ่าย ซึ่งมีจำนวนสูงถึง 1.2 ล้านนายที่ได้มีการรวมกันโดยการประมาณ[9]
เบื้องหลัง
[แก้]ในวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เริ่มเปิดฉากการรุกรานจีนอย่างเต็มรูปแบบ ตามมาด้วยเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล ทั้งเมืองเป่ย์ผิงและเทียนสิน ตกไปอยู่ในกำมือญี่ปุ่นในวันที่ 30 กรกฎาคม หลังยุทธการที่เป่ย์ผิง–เทียนสิน, เปิดช่องส่วนที่เหลือของที่ราบภาคเหนือของจีนให้อยู่ในสภาพเสี่ยงต่อการถูกโจมตี[12] เพื่อขัดขวางแผนการบุกรุกของญี่ปุ่น รัฐบาลจีนคณะชาติจึงตัดสินใจวางแผนหลอกล่อให้กองทัพญี่ปุ่นติดกับดักที่วางไว้ในเซี่ยงไฮ้เป็นการเปิดแนวรบครั้งที่สอง การต่อสู้ดำเนินไปตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคมถึง 12 พฤศจิกายนโดยชาวจีนได้รับบาดเจ็บสูญเสียจำนวนมากรวมถึง "ร้อยละ 70 ของนายทหารหนุ่มของเจียงไคเชกชั้นยอดที่ได้รับการฝึกจากเยอรมัน"[13] หลังจากเมืองเซี่ยงไฮ้ถูกยึด กรุงหนานจิง ที่เป็นที่ตั้งเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีน ที่ทำการจีนคณะชาติ ถูกคุกคามโดยตรงจากกองทัพญี่ปุ่น จีนคณะชาติจึงถูกบังคับให้ประกาศเมืองหลวงในฐานะเมืองเปิด ในขณะที่เริ่มกระบวนการย้ายเมืองหลวงเพื่อหนีการรุกรานของญี่ปุ่นไปที่ฉงชิ่งแทน
ด้วยการล่มสลายของสามเมืองใหญ่ของจีน (อันได้แก่เมือง เป่ย์ผิง (ปักกิ่ง), เทียนสิน (เทียนจิน), และเซี่ยงไฮ้) ได้มีผู้ลี้ภัยหนีสงครามจำนวนมากหนีการสู้รบ นอกเหนือไปจากสิ่งอำนวยความสะดวกของรัฐบาลและเสบียงสงครามที่ต้องย้ายไปยังฉงชิ่ง เนื่องจากความบกพร่องในการขนส่ง รัฐบาลไม่สามารถขนย้ายทรัพย์สินและผู้คนให้เสร็จสมบูรณ์ได้ เมืองอู่ฮั่นจึงกลายเป็น"เมืองหลวงสงคราม"โดยพฤตินัย" ของสาธารณรัฐจีน เนื่องจากเมืองมีรากฐานทางเศรษฐกิจเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งไว้รองรับผู้อพยพ[14] ด้วยความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตช่วยจัดหาทรัพยากรทางทหารและทางเทคนิคเพิ่มเติมรวมถึงกลุ่มอาสาสมัครของสหภาพโซเวียต
ในฝั่งญี่ปุ่นกองกำลังของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นถูกระบายออกเนื่องจากการปฏิบัติการทางทหารจำนวนมากและมีการขยายขอบเขตตั้งแต่เริ่มการรุกราน ญี่ปุ่นเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนกำลังทหารที่จะควบคุมดินแดนที่ยึดในจีน การเสริมกำลังทหารจึงจำเป็นที่จะต้องถูกส่งไปเพื่อเสริมกำลังในพื้นที่ แต่สิ่งนี้ทำให้เกิดความตึงเครียดอย่างมากต่อเศรษฐกิจและสันติภาพของญี่ปุ่น ทำให้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเจ้าชายฟูมิมาโระ โคโนเอะทรงรวบรวมคณะรัฐมนตรีของพระองค์เพื่อหารือประชุม ในปี ค.ศ. 1938 รวมทั้งมีการออกกฎหมายการเกณฑ์ทหารแห่งชาติเป็นผลให้ญี่ปุ่นต้องเกณฑ์ทหารไปรบในจีนเพิ่มขึ้น ในวันที่ 5 พฤษภาคมปีเดียวกันทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจในช่วงสงคราม[15]
แม้ว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในช่วงสงคราม แต่ก็ชะลอการสูญเสียการเงินในคลังของประเทศ อีกสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่ยั่งยืนในระยะยาวเนื่องจากต้นทุนในการบำรุงรักษาทหารที่สามารถรับมือกับสหภาพโซเวียตในความขัดแย้งชายแดนของญี่ปุ่นในประเทศแมนจูซึ่งเป็นดินแดนยึดครองของญี่ปุ่นที่มีพรมแดนติดกับสหภาพโซเวียต
รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องการบังคับให้ชาวจีนยอมแพ้อย่างรวดเร็วเพื่อรวบรวมทรัพยากรเพื่อดำเนินการต่อไปด้วยการตัดสินใจของพวกเขาในแผนการ โฮะกุชินรน (แผนการบุกขึ้นเหนือบุกโจมตีสหภาพโซเวียต) และแผนการนันชินรน (แผนการบุกโจมตียึดครองประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) สำหรับผู้บัญชาการญี่ปุ่นมีการคาดการณ์และประเมินแล้วว่า จีนจะไม่สามารถต้านทานการรุกของญี่ปุ่นได้อีกและการต่อต้านของจีนควรจะยุติลงที่อู่ฮั่น[15]
ความสำคัญของเมืองอู่ฮั่น
[แก้]อู่ฮั่น, ตั้งอยู่ครึ่งทางต้นน้ำของแม่น้ำแยงซีเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของจีนมีประชากร 1.5 ล้านคนในปลายปี ค.ศ. 1938[16] แม่น้ำแยงซีและแม่น้ำฮันชุยได้ไหลผ่านแบ่งเมืองเป็นสามเขตได้แก่ อู่ชาง, ฮั่นโข่วและฮั่นหยาง อู่ชางเป็นศูนย์กลางทางการ เมืองฮันโข่วเป็นย่านการค้าและฮันยางเป็นเขตอุตสาหกรรม หลังจากเสร็จสิ้นการสร้างเส้นทางรถไฟเยว่ฮัน ความสำคัญของอู่ฮั่นในฐานะศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญในกิจการภายในของจีนได้รับการจัดตั้งขึ้น มันยังทำหน้าที่เป็นจุดผ่านแดนที่สำคัญสำหรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศที่ย้ายเข้ามาจากท่าเรือทางใต้[17]
หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ยึดครองเมืองหนานจิง หน่วยงานรัฐบาลจีนคณะชาติและกองบัญชาการกองทัพได้หนีไปตั้งอยู่ในอู่ฮั่นแม้จะมีความจริงที่ว่าเมืองหลวงถูกย้ายไปยังฉงชิ่ง อู่ฮั่นจึงกลายเป็นเมืองหลวงแห่งสงครามอย่างแท้จริงเมื่อเริ่มภารกิจในอู่ฮั่น ความพยายามทำสงครามของจีนจึงมุ่งเน้นไปที่การปกป้องอู่ฮั่นจากการครอบครองโดยญี่ปุ่น จักรวรรดิญี่ปุ่นและศูนย์บัญชาการใหญ่ของกองทัพญี่ปุ่นประจำจีนต่างคาดหวังว่าเมืองอู่ฮั่นจะล่มสลายพร้อมด้วยการยอมแพ้ของชาวจีน "ภายในหนึ่งหรือสองเดือน".[18]
การเตรียมการรบ
[แก้]ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1937 คณะกรรมการกิจการทหารถูกตั้งขึ้นเพื่อกำหนดแผนการต่อสู้เพื่อป้องกันอู่ฮั่น[19] หลังจากการ การเสียเมืองซูโจว ทหารประมาณ 1.1 ล้านนายหรือราว 120 กองพลของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนถูกปรับใช้ซ้ำ[20] คณะกรรมาธิการตัดสินใจจัดระบบป้องกันรอบๆ ภูเขาต้าเปี้ย, ทะเลสาบโปหยาง และแม่น้ำแยงซี เพื่อต่อต้านทหารฝ่ายญี่ปุ่น 200,000 นายหรือราว 20 กองพลของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ผู้บัญชาการจีนหลี่ ซงเหริน และไป๋ ฉงซี เขตสงครามที่ห้าได้รับมอบหมายให้ปกป้องทางตอนเหนือของแม่น้ำแยงซีในขณะที่เฉิน เฉิงแห่งเขตสงครามเก้าได้รับมอบหมายให้ปกป้องทางทิศใต้ เขตสงครามครั้งที่ 1 ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเจิ้งโจว-ซินหยาง ในส่วนของเส้นทางรถไฟผิงฮันได้รับมอบหมายให้หยุดกองกำลังญี่ปุ่นที่มาจากที่ราบทางตอนเหนือของจีน ในที่สุดกองทัพจีนในเขตสงครามที่สามตั้งอยู่ระหว่างอู๋หู อันชิ่ง และหนานชางได้รับมอบหมายให้คุ้มครองเส้นทางรถไฟเยว่ฮัน[21]
หลังจากที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองซูโจวในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1938 พวกเขาพยายามที่จะขยายแนวของการบุกรุก กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะส่งทัพไปยึดเมืองอันชิ่งก่อนเพื่อใช้เป็นฐานในการโจมตีอู่ฮั่น จากนั้นเป็นกำลังหลักในการโจมตีพื้นที่ทางตอนเหนือของเทือกเขาต้าเปี้ยซึ่งเคลื่อนที่ไปตามแม่น้ำฮวย ในท้ายที่สุดก็ครอบครองอู่ฮั่นโดยผ่าน ช่องเขาอู่เฉิง หลังจากนั้นออกไปอีกจะย้ายไปทางทิศตะวันตกตามแม่น้ำแยงซี อย่างไรก็ตามเนื่องจากอุทกภัยแม่น้ำหวง กองทัพญี่ปุ่นถูกบังคับให้ละทิ้งแผนการโจมตีตามแนวแม่น้ำฮวยและตัดสินใจโจมตีตามฝั่งแม่น้ำแยงซีทั้งสองฝั่งแทน ในวันที่ 4 พฤษภาคมผู้บัญชาการกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น ชุนโรกุ ฮาตะได้จัดทหารประมาณ 350,000 นายใน กองทัพที่ 2และกองทัพที่ 11 สำหรับการต่อสู้ในและรอบๆ อู่ฮั่น ภายใต้เขา นายพลยะสุจิ โอคามูระ บัญชาการ 5 กองพลและกว่าครึ่งของทั้งหมดของกองทัพที่ 11 ไปตามฝั่งแม่น้ำแยงซีในการโจมตีหลักที่เมืองอู่ฮั่นในขณะที่ เจ้าชายนารูฮิโกะ เจ้าฮิงาชิกูนิทรงบัญชาการ 4 และจำนวนครึ่งกองพลของกองทัพที่ 2 ทางตอนเหนือของเทือกเขาต้าเปี้ยเพื่อช่วยสนับสนุนในการโจมตี กองทัพเหล่านี้ถูกเสริมโดยเรือ 120 ลำของกองเรือที่ 3แห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นภายใต้พลเรือโคจิโร่ โออิคาวะ และเครื่องบินมากกว่า 500 ลำของกองกำลังพิเศษทางอากาศกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น รวมถึงกองทัพญี่ปุ่น 5 กองพลจากกองทัพประจำจีนตอนกลางเพื่อป้องกันพื้นที่ในและรอบๆ เซี่ยงไฮ้, ปักกิ่ง,หางโจวและเมืองสำคัญอื่นๆ จึงช่วยปกป้องกองทัพญี่ปุ่นในแนวหลังและเตรียมพร้อมสำหรับการรบ[21]
เปิดฉากรบ
[แก้]การรบที่อู่ฮั่นเปิดฉากด้วยการโจมตีทางอากาศของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1938 เป็นที่รู้จักกันในนาม "การรบทางอากาศ 2.18" และจบลงด้วยกองทัพจีนที่ต่อต้านการโจมตี[19] ในวันที่ 24 มีนาคม สภาไดเอทของญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายการเกณฑ์ทหารแห่งชาติที่ได้รับอนุญาตระดมทุนสงครามไม่จำกัด ในฐานะส่วนหนึ่งของกฎหมายร่างพระราชบัญญัติการรับราชการแห่งชาติยังอนุญาตให้มีการเกณฑ์ทหาร เมื่อวันที่ 29 เมษายน กองทัพอากาศญี่ปุ่นได้เปิดตัวการโจมตีทางอากาศครั้งสำคัญต่อเมืองอู่ฮั่นเพื่อเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ[22][23] กองทัพจีนที่ได้คาดการณ์และวางแผนรับมือมาก่อนได้เตรียมการไว้อย่างดี การต่อสู้ครั้งนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม "การรบทางอากาศ 4.29" และเป็นหนึ่งในการต่อสู้ทางอากาศที่รุนแรงที่สุดของสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
หลังจากการเสียเมืองซูโจว ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1938 ญี่ปุ่นวางแผนการบุกรุกอย่างกว้างขวางต่อเมืองฮันโข่วและหมายยึดอู่ฮั่น โดยตั้งใจจะทำลายกองทัพหลักของกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน
ในทางกลับกันกองทัพจีนกำลังสร้างความพยายามในการป้องกันโดยการรวมทหารในพื้นที่อู่ฮั่นอย่างมหาศาล พวกเขายังตั้งแนวป้องกันในมณฑลเหอหนานเพื่อชะลอกองกำลังญี่ปุ่นที่มาจากซูโจว อย่างไรก็ตามเนื่องจากความแตกต่างในความแข็งแกร่งของกองกำลังจีนและญี่ปุ่นแนวป้องกันนี้จึงทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว
ในความพยายามที่จะชนะเวลามากขึ้นสำหรับการเตรียมการป้องกันอู่ฮั่น เพื่อถ่วงเวลาชะลอการรุกของญี่ปุ่น ฝ่ายจีนได้เปิดคันดินทำลายเขื่อนของแม่น้ำหวงในหัวหยูกังโควและเจิ้งโจว ในวันที่ 9 มิถุนายน ได้เกิดน้ำท่วมเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ที่รู้จักกันใน อุทกภัยแม่น้ำหวง ค.ศ. 1938 บังคับให้ญี่ปุ่นชะลอการโจมตีอู่ฮั่น อย่างไรก็ตามยังก่อให้เกิดการเสียชีวิตของพลเรือนจีนราว 500,000 ถึง 900,000 คน อีกทั้งทำให้เกิดน้ำท่วมหลายเมืองทางตอนเหนือของจีน[22]
ตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี
[แก้]ในวันที่ 15 มิถุนายน ญี่ปุ่นได้ทำการยกพลขึ้นฝั่งและยึดเมืองอันชิ่ง ส่งสัญญาณการโจมตีของเมืองอู่ฮั่น บนฝั่งใต้ของแม่น้ำแยงซี เขตสงครามที่ 9 ของจีนมีกองทหารประจำการ 1 กองอยู่ทางตะวันตกของทะเลสาบโปหยาง ส่วนอีกกองทหารประจำการอยู่ที่จิ่วเจียง[24]
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน เรือลำเลียงพลกองกำลังญี่ปุ่นได้ทำการลงจอดและยกพลขึ้นฝั่งที่เมืองหม่าดางอย่างประหลาดใจในขณะที่กองกำลังหลักของญี่ปุ่น กองทัพที่ 11โจมตีไปตามชายฝั่งทางใต้ของแม่น้ำแยงซี หม่าดางตกอยู่การยึดครองญี่ปุ่นอย่างรวดเร็วซึ่งเปิดเส้นทางสู่จิ่วเจียง[25]
ฝ่ายจีนพยายามต่อต้านการรุกคืบของฝ่ายญี่ปุ่น แต่พวกเขาไม่สามารถผลักดันการยกพลขึ้นฝั่งของเรือลำเลียงพลกองพล 106 ของญี่ปุ่นไม่ให้ยึดครองจิ่วเจียงได้ ในวันที่ 26 จิ่วเจียงแตก[17] กองทหารนามิตะของญี่ปุ่นเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกไปตามแม่น้ำลงจอดทางตะวันออกเฉียงเหนือของรุ่ยชาง ในวันที่ 10 สิงหาคมและโจมตีเมือง กองกำลังป้องกันจีนคณะชาติหน่วยที่ 2 ได้รับการเสริมโดยกลุ่มกองทัพที่ 32 และในขั้นต้นสามารถหยุดการโจมตีของญี่ปุ่นได้ อย่างไรก็ตามเมื่อกองทหารญี่ปุ่นที่ 9 เข้าร่วมการต่อสู้ ฝ่ายจีนก็อ่อนกำลังลงและรุ่ยชางถูกยึดครองในวันที่ 24
กองพลที่ 9 ของญี่ปุ่นและกองทหารนามิตะยังคงเดินเลียบไปตามแม่น้ำอย่างต่อเนื่องขณะที่กองทหารญี่ปุ่นที่ 27 บุกเข้าโจมตีหลัวซีในเวลาเดียวกัน กองพลที่ 30 และ 18 ของจีนได้ทำการต่อต้านไปตามถนนรุ่ยชาง-หลัวซี และพื้นที่โดยรอบส่งผลให้การสู้รบยันกันเกินกว่าหนึ่งเดือนจนกระทั่งกองพลที่ 27 ของญี่ปุ่นได้ยึดหลัวซีในวันที่ 5 ตุลาคม กองกำลังญี่ปุ่นก็หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อยึดซินตันผู่ ในมณฑลหูเป่ย เมื่อวันที่ 18 และจากนั้นก็เคลื่อนกำลังพลไปที่ต้าจือ
ในขณะเดียวกันกองกำลังญี่ปุ่นอื่นๆ และกองเรือแม่น้ำสนับสนุนยังคงรุกคืบหน้าไปทางตะวันตกตามแม่น้ำแยงซีได้พบกับการต่อต้านจากกองทัพจีนที่ 31 ปกป้องและกองทัพกลุ่มที่ 32 ทางตะวันตกของรุ่ยชางได้ทำการปกป้องอย่างแข็งขัน เมื่อเมืองหม่าดางและภูเขาฝูจิน ทั้งคู่ตั้งอยู่ในเขตหยางซินของมณฑลหูเป่ย์ได้ถูกยึดครอง กองทัพจีนที่ 2 ได้ส่งกองทัพที่ 6, 56, 75 และ 98 พร้อมกับกองทัพกลุ่มที่ 30 ของเพื่อเสริมกำลังพลและป้องกันภูมิภาคมณฑลเจียงซี
การต่อสู้ยังคงดำเนินต่อไปจนถึงวันที่ 22 ตุลาคม เมื่อจีนสูญเสียเมืองอื่นๆ ในเขตหยางซิน ต้าจือและหูเป่ย์ กองทหารญี่ปุ่นที่ 9 และกองทหารนามิตะกำลังเข้าใกล้อู่ชาง[26]
หวานเจียหลิง
[แก้]ในขณะที่กองทัพญี่ปุ่นโจมตีรุ่ยชาง, กองพล 106 ของญี่ปุ่นเคลื่อนกำลังไปตามทางรถไฟหนานซุน (ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ หนานชาง-จิ่วเจียง) ทางด้านทิศใต้ แนวป้องกันของกองทัพจีนที่ 4, กลุ่มกองทัพที่ 8, และกลุ่มกองทัพที่ 29 นั้นขึ้นอยู่กับภูมิประเทศที่ได้เปรียบของหลูชานและทางเหนือของ เส้นทางรถไฟหนานซุนเพื่อต่อต้าน เป็นผลให้การโจมตีของญี่ปุ่นประสบความล้มเหลว ในวันที่ 20 สิงหาคม กองพลที่ 101 ของญี่ปุ่นข้ามทะเลสาบโปหยางจากภูมิภาคหูโข่วเพื่อเสริมกำลังกองพลที่ 106 ทำลายแนวป้องกันของกองทัพที่ 25 ของจีนและเข้ายึดเมืองซินจือ จากนั้นพวกเขาพยายามที่จะครอบครองภูมิภาคเต๋ออันและหนานชาง พร้อมกับกองพลที่ 106 เพื่อปกป้องปีกทางใต้ของกองทัพญี่ปุ่นซึ่งกำลังจะบุกเข้าสู่ทิศตะวันตก
เสวี่ย เยวี่ย,ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองพลแรกของจีนใช้กองทัพที่ 4, 29, 66, และ 74 เพื่อเชื่อมโยงกับกองทัพที่ 25 และต่อสู้กับญี่ปุ่นในการสู้รบรุนแรงที่หม่าดางและทางเหนือของเต๋ออัน เกิดการสู้รบยันไปมาระหว่างสองฝ่ายเป็นครั้งที่สอง
ในช่วงปลายเดือนกันยายนกองทหารของกองพลญี่ปุ่นที่ 106 ได้เข้ามาในเขตหวานเจียหลิง ทางตะวันตกของเต๋ออัน เสวี่ย เยวี่ยสั่งให้กองทัพจีนที่ 4, 66 และ 77 ขนาบข้างญี่ปุ่น กองพลที่ 27แห่งกองทัพญี่ปุ่นพยายามที่จะเสริมตำแหน่งแต่ถูกดักซุ่มโจมตีโดยกองทัพจีน 32 นำโดยชาง เจิ้น บนถนนไป๋ซุ่ย ทางตะวันตกของหวานเจียหลิง ในวันที่ 7 ตุลาคมกองทัพจีนได้ทำการโจมตีครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายเพื่อล้อมกองทัพญี่ปุ่น การต่อสู้ที่ดุเดือดดำเนินไปเป็นเวลาสามวันและการโจมตีของญี่ปุ่นทั้งหมดถูกจีนตอบโต้กลับได้สำเร็จ
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม กองพลที่ 106 ของญี่ปุ่นรวมถึงกองพลที่ 9, 27, และ 101 ซึ่งได้ไปเสริมกำลัง 106 ได้รับบาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนมาก กองพันอาโอกิ, อิเคดะ คิจิมะ และทสึดะก็ถูกทำลายในวงล้อมของจีน เมื่อกองกำลังญี่ปุ่นในพื้นที่สูญเสียความสามารถในการควบคุมการรบ เจ้าหน้าที่หลายร้อยคนถูกส่งไปยังพื้นที่ดังกล่าว จากสี่กองพลญี่ปุ่นที่เข้าร่วมการต่อสู้มีทหารญี่ปุ่นเพียง 1,500 นายที่รอดชีวิตออกมาจากการล้อม ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า "ชัยชนะแห่งหวานเจียหลิง" โดยชาวจีน
หลังสงครามในปี ค.ศ. 2000 นักประวัติศาสตร์ทหารชาตินิยมญี่ปุ่นยอมรับความเสียหายหนักที่หน่วยกองพลที่ 9, 27, 101 และ 106 และหน่วยรองของพวกเขาได้รับความเสียหายระหว่างการต่อสู้ในหวานเจียหลิง ได้มีการเพิ่มจำนวนของสุสานสงครามที่เคารพบูชาทหารที่เสียชีวิตในศาลเจ้ายาซูกูนิและได้มีการทำพิธีบวงสรวงแบบศาสนาชินโตของญี่ปุ่น ซึ่งถูกมองเป็นการเชิดชูอาชญากรสงคราม รัฐบาลจักรวรรดิญี่ปุ่นไม่ยอมรับความเสียหายในช่วงสงครามเพื่อรักษาขวัญกำลังใจของประชาชนและความมั่นใจในความพยายามทำสงครามรุกรานจีนต่อไป
ตอนเหนือของแม่น้ำแยงซี
[แก้]ในมณฑลซานตงภายใต้ซือโหย่วซานนำกำลังทหารและพลเรือน 1,000 นายเข้าทำสงครามใต้ดินตอบโต้การรุกรานของญี่ปุ่นและยึดเมืองจี่หนานคืนจากญี่ปุ่นและสามารถรักษาเมืองไว้สามวัน การทำสงครามใต้ดินของจีนต่อต้านญี่ปุ่นยังเกิดขึ้นในเมืองหยันไถ เป็นระยะเวลาสั้น ๆ พื้นที่ทางตะวันออกของฉางโจว ตลอดทางจนถึง เซี่ยงไฮ้ถูกควบคุมโดยกองกำลังจีนอื่นที่สนับสนุนรัฐบาลจีนคณะชาตินำโดยไต้ หลี่ ใช้ยุทธวิธีการรบแบบใต้ดินในเขตชานเมืองของเซี่ยงไฮ้และชายฝั่งแม่น้ำหวงผู่ กองกำลังนี้ประกอบขึ้นจากสมาชิกของสมาคมลับของแก็งค์เขียว ซึ่งฆ่าสายลับและผู้ทรยศ พวกเขาสูญเสียมากกว่า 100 คนในระหว่างการปฏิบัติการของพวกเขา เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม สมาชิกของกองกำลังนี้แอบเข้าไปทำการจารกรรมในฐานทัพอากาศญี่ปุ่นที่หงเฉียวและโบกยกธงชาติสาธารณรัฐจีนขึ้น สร้างความปั่นป่วนให้กองทัพญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก
ในขณะที่กลุ่มเหล่านี้มีความกระตือรือร้น อีกด้านหนึ่งกองพลที่ 6 ของญี่ปุ่นได้บุกฝ่าแนวป้องกันของกองทัพจีนที่ 31 และ 68 ในวันที่ 24 กรกฎาคมและเข้ายึดเขตไท่หู, ซูซง และ หวงเหมย์ ในวันที่ 3 สิงหาคม ในขณะที่ญี่ปุ่นยังคงเคลื่อนที่ไปทางตะวันตก กองทัพจีนที่ 4 แห่งเขตสงครามที่ห้าได้นำกำลังหลักของพวกเขาในเมืองกวางจี หูเป่ยและเมืองเทียนเจียเพื่อสกัดกั้นการรุกรานของญี่ปุ่น กลุ่มกองทัพที่ 11 และกองทัพที่ 68 ได้รับคำสั่งให้จัดตั้งแนวป้องกันในมณฑลหวงเหม่ยในขณะที่กลุ่มกองทัพที่ 21 และ 29 เช่นเดียวกับกองทัพที่ 26 ย้ายไปทางใต้เพื่อขนาบข้างญี่ปุ่น
กองทัพจีนสามารถยึดไท่หูคืน ในวันที่ 27 สิงหาคมและ ได้เมืองซูซงกลับคืน ในวันที่ 28 สิงหาคม อย่างไรก็ตามด้วยการเสริมกำลังของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม กลุ่มกองทัพจีนที่ 11 และกองทัพที่ 68 ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการตอบโต้ญี่ปุ่นที่มีมากขึ้น พวกเขาถอยกลับไปยังกวางจี เพื่อต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นต่อไปพร้อมกับกองทัพจีนที่ 26, 55 และ 86 กลุ่มทัพที่ 4 ของจีนสั่งให้กองทหารที่ 21 และกลุ่มที่ 29 โจมตีกองทัพญี่ปุ่นจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของ หวงเหมย์ แต่พวกเขาไม่สามารถหยุดยั้งการบุกญี่ปุ่น กวางจีถูกญี่ปุ่นยึดในวันที่ 6 กันยายน ในวันที่ 8 กันยายน กวางจีได้รับการยึดคืนและฟื้นฟูจากกองพลที่ 4 ของจีน แต่อู่เสวี่ยกลับถูกญี่ปุ่นล้างเมืองไปในวันเดียวกันนั้น
จากนั้นกองทัพญี่ปุ่นก็เข้าล้อมป้อมปราการเมืองเทียนเจีย กองพลที่ 4 ของจีนส่งกองทัพที่ 2 ไปเสริมทัพกองทัพที่ 87 และกองทัพที่ 26, 48, และ 86 เพื่อพยายามขนาบข้างญี่ปุ่นอีกครั้ง อย่างไรก็ตามพวกเขากลับถูกตอบโต้และได้รับเสียหายจำนวนมากจากการต่อสู้ของกองทัพญี่ปุ่นซึ่งมีอาวุธที่ดีกว่า ป้อมเมืองเทียนเจียถูกญี่ปุ่นยึดเมื่อวันที่ 29 และญี่ปุ่นยังคงโจมตีทางตะวันตก ญี่ปุ่นเข้ายึดหวางโปเมื่อวันที่ 24 ตุลาคมและเปิดเส้นทางเข้าใกล้จะถึงฮันโข่ว
ภูเขาต้าเปี้ย
[แก้]ทางตอนเหนือของภูเขาต้าเปี้ย กองทัพจีนกลุ่มที่ 3 ของเขตสงครามที่ห้าประจำการกลุ่มทหารที่ 19 และ 51 และกองทัพที่ 77 ในหลี่อวนและหัวชานในอันชิ่ง กองทัพที่ 71 ได้รับมอบหมายให้ปกป้องภูเขาฝูจินและ ภูมิภาคกู่ชือในมณฑลเหอหนาน กองทัพกลุ่มที่ 2 ของจีนประจำการอยู่ในชางเฉิง, เหอหนานและหม่าเฉิง, หูเป่ย์ กลุ่มกองทัพจีนที่ 27 และกองทัพที่ 59 ประจำการในภูมิภาคแม่น้ำเหลืองและกองทัพที่ 17 ถูกเรียกไปประจำการภูมิภาคซินหยางเพื่อจัดระเบียบแนวป้องกัน
ญี่ปุ่นได้เริ่มเข้าโจมตีเมื่อปลายเดือนสิงหาคมโดยกองทัพที่ 2 เดินทัพจากเหอเฟย์ ในสองเส้นทางที่แตกต่างกัน ส่วนกองพลที่ 13 บนเส้นทางสายใต้ฝ่าแนวป้องกันของกองทัพจีนที่ 77 และเข้ายึดเมืองหัวชาน จากนั้นก็เคลื่อนเป้าหมายไปทางเย่เจียจี
กองทัพ 71 แห่งจีนที่อยู่ใกล้เคียงและกองทัพกลุ่มที่ 2 ใช้ประโยชน์จากตำแหน่งที่มีอยู่เพื่อต่อต้านการโจมตีของญี่ปุ่น กองพลที่ 16 จึงถูกเรียกให้เข้ามาเสริมทัพ วันที่ 16 กันยายนกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดชางเฉิง กองทัพจีนล่าถอยห่างออกไปทางใต้ของเมืองโดยใช้ฐานที่มั่นเชิงกลยุทธ์ในเทือกเขาต้าเปี้ย เพื่อดำเนินการต่อต้าน วันที่ 24 ตุลาคม ญี่ปุ่นเข้ายึดครองหม่าเฉิง กองพลที่ 10 ของญี่ปุ่นเป็นกำลังหลักในเส้นทางภาคเหนือ พวกเขาฝ่าแนวป้องกันของกองทัพจีนที่ 51 และเข้ายึดหลี่อวนเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ในวันที่ 6 กันยายนพวกเขาก็ยึดกู่ชือและเดินทัพต่อไปทางตะวันตก
กลุ่มกองทัพจีนที่ 27 และกองทัพที่ 59 รวมตัวกันในภูมิภาคแม่น้ำเหลืองเพื่อต่อต้าน หลังจากผ่านไปสิบวันของการต่อสู้ที่ดุเดือดกองทัพญี่ปุ่นก็ข้ามสามารถแม่น้ำเหลืองในวันที่ 19 กันยายน ในวันที่ 21 เดือนเดียวกัน กองพลที่ 10 ของญี่ปุ่นได้เอาชนะกองทัพกลุ่มที่ 17 ของจีนและกองทัพที่ 45 และเข้าทำลายล้างเมืองหลูซาน จากนั้นกองพลที่ 10 ก็ยังคงเคลื่อนที่ไปทางตะวันตก แต่พบกับการตอบโต้ของจีนทางตะวันออกของ ซินหยางทำให้ถูกบังคับให้ถอนตัวกลับสู่หลูซาน
กองทัพญี่ปุ่นกลุ่มที่ 2 สั่งให้กองพลที่ 3 ให้ความช่วยเหลือในกองพลที่ 10 ในการยึดซินหยาง ในวันที่ 6 ตุลาคม กองพลที่ 3 วนกลับไปบุกเมืองซินหยางและยึดสถานีหลิวหลินของเส้นทางรถไฟผิงฮั่น ในวันที่ 12 กองทัพญี่ปุ่นที่ 2 เข้ายึดซินหยางและเคลื่อนทัพย้ายไปทางใต้ของเส้นทางรถไฟผิงฮั่น เพื่อโจมตีอู่ฮั่นพร้อมกับกองทัพที่ 11
การสู้รบที่กว่างโจว
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การใช้อาวุธเคมี
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ช่วงภายหลัง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรมสมัยนิยม
[แก้]- ในวิดีโอเกมสงครามกลยุทธ์ ฮาตส์ออฟไอเอิร์น 4 ได้มีเพลงประกอบฉากที่ใช้ชื่อว่า ยุทธการอู่ฮั่น หรือ Battle of Wuhan สะท้อนถึงการสู้รบของกองทัพจีนคณะชาติก๊กมินตั๋งในยุทธการดังกล่าว
สื่อวิดิโอ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://ww2db.com/battle_spec.php?battle_id=176
- ↑ 2.0 2.1 The Shattering of Japan's Imperial dream in China Retrieved 26 June 2018
- ↑ Mackinnon, "Tragedy of Wuhan p. 932
- ↑ ChinaDaily Retrieved 29 July 2018
- ↑ Japan-China War: weblio.jp retrieved 29 June 2018
- ↑ JM-70 p. 31, Retrieved 26 July 2018
- ↑ CombinedFleet: the Yangtze Retrieved 29 June 2018
- ↑ todayonhistory.com เก็บถาวร 2019-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, includes 254,628 killed and over 400,000 wounded. Retrieved 28 June 2018.
- ↑ 9.0 9.1 Mackinnon p. 933
- ↑ 10.0 10.1 Japanese figures indicate the 11th Army alone suffered 104,559 cases of illness, plus 1,386 cases of infectious disease How many people did the Japanese army lose at Wuhan? (Chinese) Retrieved 30 July 2018
- ↑ Mackinnon 2008, p. 102.
- ↑ Paine 2017, p. 123.
- ↑ Paine 2017, p. 124.
- ↑ MacKinnon 2008, p. 66.
- ↑ 15.0 15.1 MacKinnon 2007, p. 45.
- ↑ MacKinnon 2008, p. 50.
- ↑ 17.0 17.1 Paine 2012, p. 140.
- ↑ MacKinnon 2008, p. 98.
- ↑ 19.0 19.1 MacKinnon 2008, p. 120.
- ↑ MacKinnon 2008, p. 25.
- ↑ 21.0 21.1 Paine 2017, p. 125–126.
- ↑ 22.0 22.1 MacKinnon 2008, p. 121.
- ↑ Garver 1988, p. 41.
- ↑ MacKinnon 2008, p. 38.
- ↑ MacKinnon 2008, p. 39.
- ↑ MacKinnon 2008, p. 40.
บรรณานุกรม
[แก้]- Eastman, Lloyd E. (1986). The Nationalist Era in China, 1927–1949. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0521385911.
- Garver, John W. (1988). Chinese-Soviet Relations, 1937-1945: The Diplomacy of Chinese Nationalism. New York: Oxford University Press. ISBN 0195363744.
- MacKinnon, Stephen R. (2007). China at War: Regions of China, 1937-1945. Stanford: Stanford University Press. ISBN 0804755094.
- MacKinnon, Stephen R. (2008). Wuhan, 1938: War, Refugees, and the Making of Modern China. Berkeley: University of California Press. ISBN 0520254457.
- Paine, S. C. M. (2017). The Japanese Empire: Grand Strategy from the Meiji Restoration to the Pacific War. Cambridge: Camrbridge UniversityPress. ISBN 1107011957.
- Paine, S. C. M. (2012). The Wars for Asia, 1911-1949. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0674033388.
- Taylor, Jay (2009). The Generalissimo. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 0674054717.