ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอศรีบรรพต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอศรีบรรพต
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Si Banphot
คำขวัญ: 
มรกตแห่งขุนเขา ภูมิลำเนาปู่ย่า
ทัศนาอุทยาน ชลประทานน้ำใส
รุ่งเรืองไกลเกษตรกรรม
แผนที่จังหวัดพัทลุง เน้นอำเภอศรีบรรพต
แผนที่จังหวัดพัทลุง เน้นอำเภอศรีบรรพต
พิกัด: 7°43′12″N 99°53′0″E / 7.72000°N 99.88333°E / 7.72000; 99.88333
ประเทศ ไทย
จังหวัดพัทลุง
พื้นที่
 • ทั้งหมด218.5 ตร.กม. (84.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด18,003 คน
 • ความหนาแน่น82.39 คน/ตร.กม. (213.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 93190
รหัสภูมิศาสตร์9307
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอศรีบรรพต หมู่ที่ 9 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง 93190
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ศรีบรรพต เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพัทลุง

อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย ได้รับการจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2525 ในท้องที่อำเภอศรีบรรพต

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอศรีบรรพตตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

[แก้]

ท้องที่อำเภอศรีบรรพตเดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลนาขยาด ตำบลชะมวง และตำบลเขาปู่ อำเภอควนขนุน ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ทางราชการได้แยกท้องที่หมู่ 20, 22-24 (ในขณะนั้น) ของตำบลชะมวง กับหมู่ 3 ตำบลเขาปู่ ไปจัดตั้งเป็น "ตำบลเขาย่า" และแยกท้องที่หมู่ 9-13, 18 (ในขณะนั้น) ของตำบลนาขยาด ไปจัดตั้งเป็น "ตำบลตะแพน" ทำให้พื้นที่ด้านตะวันตกของอำเภอควนขนุน มีทั้งหมด 5 ตำบล

ปี พ.ศ. 2519 ราษฎรในพื้นที่ได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่พื้นที่ตำบลเขาย่า เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล และทุรกันดาร ทำให้มีปัญหาการแทรกแซงของคอมมิวนิสต์ ทำให้มีปัญหาทางด้านการเมือง การปกครอง การรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคง โดยกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าราษฎรทั้งสามตำบล ได้แก่ ตำบลเขาปู่ ตำบลเขาย่า และตำบลตะแพน เป็นตำบลที่อยู่ไกลท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากตัวอำเภอ เจ้าหน้าที่มีโอกาสตรวจเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฎรน้อยมาก เพราะทางคมนาคมไม่สะดวก ซึ่งอาจเป็นการเสียหายในด้านการปกครอง ประกอบกับหมู่บ้านดังกล่าวมีโอกาสที่จะเจริญในอนาคต เพราะราษฎรอาศัยอยู่กันหนาแน่นมาก และมีพื้นที่ทำมาหากินได้ โดยเฉพาะมีทรัพยากรทางธรรมชาติ พอที่จะยกระดับการครองชีพของราษฎรของตำบลเขาปู่ ตำบลเขาย่า และตำบลตะแพนให้ดียิ่งขึ้น จึงแนะนำประชุมชี้แจงร่วมกับทางอำเภอควนขนุน รายงานต่อกระทรวงมหาดไทย ขอจัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอที่ตำบลเขาย่าขึ้น

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกตำบลเขาปู่ ตำบลเขาย่า และตำบลตะแพน ออกจากการปกครองของอำเภอควนขนุน รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอศรีบรรพต[1] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน กำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอควนขนุน แต่ผกค.เกิดไม่พอใจ จึงมีการลอบวางเพลิงที่ว่าการกิ่งอำเภอศรีบรรพต เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2522 ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากทางราชการและราษฏรในท้องที่ จึงร่วมกันสมทบทุนซ่อมแซมที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ให้ใช้ได้ชั่วคราว ในระหว่างที่กำลังสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ในเขตตำบลเขาย่า โดยได้รับงบประมาณการก่อสร้างจากกระทรวงมหาดไทย และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอศรีบรรพต[2] ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2536 โดยมีผลบังคับภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอศรีบรรพตแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 30 หมู่บ้าน ได้แก่

1. เขาย่า (Khao Ya) 10 หมู่บ้าน
2. เขาปู่ (Khao Pu) 11 หมู่บ้าน
3. ตะแพน (Taphaen) 9 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอศรีบรรพตประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาย่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาย่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาปู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาปู่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะแพน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะแพนทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอศรีบรรพต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (122 ง): 4920. December 6, 1977. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-19. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
  2. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (179 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-3. November 3, 1993. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.