แขวงบางนาเหนือ
แขวงบางนาเหนือ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khwaeng Bang Na Nuea |
แผนที่เขตบางนา เน้นแขวงบางนาเหนือ | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
เขต | บางนา |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 5.161 ตร.กม. (1.993 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 38,891 คน |
• ความหนาแน่น | 7,535.56 คน/ตร.กม. (19,517.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10260 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 104702 |
บางนาเหนือ เป็นแขวงแขวงหนึ่งในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร เป็น 1 ใน 13 แขวงที่ตั้งขึ้นใหม่ล่าสุดตามประกาศการเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงของกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560[3]
ประวัติ
[แก้]ท้องที่แขวงบางนาเหนือในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของแขวงบางนา เขตพระโขนง ต่อมาในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541 กระทรวงมหาดไทยได้โอนแขวงบางนามาขึ้นกับเขตบางนาที่จัดตั้งขึ้นใหม่[4] จนกระทั่งในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศยุบเลิกแขวงบางนาและจัดตั้งแขวงใหม่ 2 แขวงโดยใช้ถนนสรรพาวุธและถนนบางนา-ตราดฟากเหนือเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างกัน พื้นที่แขวงทางตอนเหนือของแขวงบางนาเดิมได้รับการตั้งชื่อว่า แขวงบางนาเหนือ[5]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]แขวงบางนาเหนือตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขตบางนา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้[5]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงพระโขนงใต้และแขวงบางจาก (เขตพระโขนง) มีคลองบางอ้อ, ซอยสุขุมวิท 101/1 (วชิรธรรมสาธิต), ซอยวชิรธรรมสาธิต 32 (จุฬา 4), ซอยอุดมสุข 29 (พุทธวิถี 1) และถนนอุดมสุขเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงหนองบอน (เขตประเวศ) และตำบลบางแก้ว (อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองเคล็ดและคลองบางนา (สาหร่าย) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับแขวงบางนาใต้ (เขตบางนา) มีถนนบางนา-ตราดและถนนสรรพาวุธเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบางน้ำผึ้ง (อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
การคมนาคม
[แก้]ถนนสายหลักในพื้นที่แขวงบางนาเหนือ ได้แก่
- ถนนสุขุมวิท
- ถนนศรีนครินทร์
- ถนนอุดมสุข
- ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางพิเศษบางนา-อาจณรงค์
ถนนสายรองและทางลัดในพื้นที่แขวง ได้แก่
- ซอยสุขุมวิท 101/2 และซอยอุดมสุข 5 (ตลาดอุบลศรี)
- ซอยวชิรธรรมสาธิต 14 และซอยอุดมสุข 19 (หมู่บ้านเจริญผล)
- ซอยวชิรธรรมสาธิต 32 (จุฬา 4) และซอยอุดมสุข 29 (พุทธวิถี 1)
- ซอยอุดมสุข 42 / ซอยบางนา-ตราด 19 (เชลียง 1)
- ซอยอุดมสุข 56 / ซอยบางนา-ตราด 21 (เชลียง 7)
- ซอยบางนา-ตราด 23 (สวนสวรรค์)
- ซอยสรรพาวุธ 2 (เลียบทางด่วนบางนา)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. กรุงเทพมหานคร. "จำนวนประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น จำนวนบ้าน จำแนกตามแขวง ในเขตกรุงเทพมหานคร 2563." สถิติกรุงเทพมหานครประจำปี 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ข้อมูล ปี 2566 พื้นที่ เขตบางนา." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate4/Area/statpop?yymm=66&ccDesc=กรุงเทพมหานคร&topic=statpop&ccNo=10&rcodeNo=1047&rcodeDesc=เขตบางนา 2566. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2567.
- ↑ "เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงใน 7 เขต กทม". สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. 2017-08-31. สืบค้นเมื่อ 2022-12-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนง และตั้งเขตบางนา กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 35–39. 18 พฤศจิกายน 2540.
- ↑ 5.0 5.1 "ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ยุบพื้นที่แขวงบางนา และตั้งแขวงบางนาเหนือ แขวงบางนาใต้ เขตบางนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 215 ง): 50–52. 31 สิงหาคม 2560.