ข้ามไปเนื้อหา

กองทัพไทย

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กองทัพไทย
Royal Thai Armed Forces
เครื่องหมายราชการของกองบัญชาการกองทัพไทย
ธงราชการของกองบัญชาการกองทัพไทย
ก่อตั้ง18 มกราคม พ.ศ. 2395; 172 ปีก่อน (2395-01-18)[1]
เหล่า กองทัพบก
 กองทัพเรือ
Flag of the กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศ
กองบัญชาการกรุงเทพมหานคร
ผู้บังคับบัญชา
จอมทัพ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ภูมิธรรม เวชยชัย
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี
กำลังพล
อายุเริ่มบรรจุ21
ประชากร
วัยบรรจุ
14,903,855[ต้องการอ้างอิง] ชาย, อายุ 21–49 (ประเมิน 2548),
15,265,854[ต้องการอ้างอิง] หญิง, อายุ 21–49 (ประเมิน 2548)
ประชากร
ฉกรรจ์
10,396,032[ต้องการอ้างอิง] ชาย, อายุ 21–49 (ประเมิน 2548),
11,487,690[ต้องการอ้างอิง] หญิง, อายุ 21–49 (ประเมิน 2548)
ประชากรวัยถึงขั้น
ประจำการทุกปี
526,276[ต้องการอ้างอิง] ชาย (ประเมิน 2548),
514,396[ต้องการอ้างอิง] หญิง (ประเมิน 2548)
ยอดประจำการ305,860
ยอดสำรอง245,000
รายจ่าย
งบประมาณ189,175,442,800 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ร้อยละต่อจีดีพี1.8% (ประเมิน 2548)
อุตสาหกรรม
แหล่งผลิตในประเทศอุตสาหกรรมการบินไทย
บทความที่เกี่ยวข้อง
ประวัติประวัติศาสตร์การทหารของไทย
ยศยศทหารของกองทัพไทย

กองทัพไทย (อังกฤษ: Royal Thai Armed Forces) เป็นกองทัพของราชอาณาจักรไทย แบ่งเป็นสามเหล่าทัพ ได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ สังกัดกระทรวงกลาโหม มีพระมหากษัตริย์ไทยเป็นจอมทัพ[3] บังคับบัญชาภายใต้กองบัญชาการกองทัพไทย โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมสั่งการอำนวยการรบเพื่อปกป้องและป้องกันประเทศ[4] ภายใต้การสั่งการของนายกรัฐมนตรีตามตำแหน่ง[5][6]

สำหรับวันกองทัพไทยตรงกับวันที่ 18 มกราคมของทุกปี เพื่อรำลึกถึงการทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และมหาอุปราชของพม่าที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2136[7]

ประวัติ

วิวัฒนาการจนเป็นกองทัพไทยในปัจจุบันเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2395[8] ซึ่งทรงเล็งเห็นความจำเป็นและความสำคัญของกองทัพ จึงทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินในด้านต่าง ๆ เน้นด้านการทหารเป็นสำคัญ เริ่มต้นจากการนำครูฝึกทหารต่างชาติมาเริ่มฝึกการรบ และนำกำลังเข้าตีตามรูปแบบสมัยใหม่ครั้งแรกในสงครามเชียงตุง[8] ทรงสนับสนุนกิจการทหารด้วยการส่งพระราชโอรสหลายพระองค์ไปทรงศึกษาวิชาทหารในทวีปยุโรป ซึ่งทรงนำวิทยาการทหารสมัยใหม่มาปรับปรุงทางทหารของไทยจนเจริญทัดเทียมชาติตะวันตก นอกจากนี้ยังทรงตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ให้ชายอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ รับราชการทหาร 2 ปีแล้วปลดเป็นกองหนุน ทั้งนี้ การยกเลิกระบบไพร่ก่อนหน้านี้ ได้ทำให้เกิดระบบทหารอาชีพขึ้นในประเทศไทย

ในรัชสมัยนี้ เริ่มมีนายทหารประจำการเป็นครั้งแรก โดยได้จัดตั้งกองทัพบกและกองทัพเรือ ซึ่งแยกการบริหารออกจากกันโดยเด็ดขาด จัดแบ่งกำลังรบออกเป็น 10 กองพล[ต้องการอ้างอิง] จัดกำลังไปประจำในท้องถิ่นหัวเมืองสำคัญ จัดโรงเรียนคะเด็ตทหารมหาดเล็ก (ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) และโรงเรียนนายเรือ เพื่อผลิตทหารประจำการในกองทัพ

ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 การจัดกองทัพได้ขยายเต็มรูปแบบ เริ่มกิจการการบินและก้าวหน้าจนสามารถสร้างเครื่องบินเองได้ จวบจนถึงสมัยปัจจุบัน (ร.8-9) กองทัพไทยได้พัฒนาเพิ่มขึ้นอีกมาก ประกอบด้วยกำลังครบทั้งสามเหล่า คือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนมีศักยภาพสูง และมีบทบาทเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก สามารถส่งกำลังทหารไปช่วยมิตรประเทศในการสงครามต่างๆ หลายครั้ง อาทิเช่น สงครามโลกครั้งที่ 1 ในยุโรป สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม การรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก เป็นต้น

ใน พ.ศ. 2557 เว็บไซต์โกลบอลไฟเออร์พาวเวอร์ (GlobalFirepower) จัดอันดับความแข็งแกร่งของกองทัพไทยอยู่อันดับที่ 24 ของโลก (จาก 106 ประเทศ)[9]

ในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 26 ของโลก[10]

หน่วยงานของกองทัพไทย

ความขัดแย้ง

กองทัพไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้มีความขัดแย้งมาตลอด ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค

เกิดขึ้นเมื่อสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามยุคล่าอาณานิคมได้ขยายอิทธิพลเข้ามาในอินโดจีนและต้องการครอบครองดินแดนลาวซึ่งในตอนนั้นเป็นของสยามจึงเกิดความขัดแย้งระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามกับสยาม และสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สามได้บุกเข้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ทำให้ไทยต้องยกดินแดนลาวให้ฝรั่งเศส

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตัดสินพระราชหฤทัยประกาศสงครามเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 กับอำนาจกลางและเข้าร่วม กับฝ่ายสัมพันธมิตร ในการต่อสู้ในแนวรบด้านตะวันตก ได้ส่งทหารของกองทัพสยามเดินทางมีทหารทั้งหมด 1,233 คน และยุทธโนปกรณ์ที่ทันสมัยและได้รับการฝึกอบรมได้รับคำสั่งจากจอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์และทางอากาศ สยามเป็นประเทศอิสระเพียงรายเดียวในเอเชียประเทศที่มีกองกำลังในยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่1 และได้สงผลให้มีการแก้ไขหรือการยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เท่าเทียมกันกับ ประเทศสหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศสและจักรวรรดิอังกฤษ และกองทัพสยามยังได้รับเกียรติเดินขบวนในขบวนแห่งชัยชนะในปารีส

ทหารไทยที่เดินขบวนแห่งชัยชนะในกรุงปารีส

สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือน ตุลาคม ค.ศ. 1940 เมื่อประเทศที่อยู่ภายใต้ลัทธิฟาสซิสต์กฎของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ตัดสินใจที่จะบุกฝรั่งเศสภายใต้ระบอบการปกครองของวิชี (หลังจากนาซีครอบครองกรุงปารีส) เพื่อนำดินแดนที่ถูกฝรั่งเศสเอาไปกลับคืนมา

เกิดขึ้นเมื่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นต้องการผ่านดินแดนไทยเพื่อที่จะโจมตีบริติชอินเดีย และแหลมมลายู และต้องการใช้กำลังทหารของไทยได้เกิดการปะทะขึ้นระหว่างทหารของจักรวรรดิญี่ปุ่นกับไทยและสิ้นสุดเมื่อชั่วโมงแรกในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยไทยยอมให้กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเคลื่อนทัพผ่านดินแดนไทยได้ ต่อมาหลังจากถูกเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิดใส่กรุงเทพ รัฐบาลไทยได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตรในวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942 โดยไทยได้ส่งทหารบุกพม่า

เกิดขึ้นในช่วงที่ความขัดแย้งของสหประชาชาติในคาบสมุทรเกาหลี กองทัพไทยให้กรมทหารราบที่ 21 ประมาณ 1,294 คน

ทหารไทยที่เข้ารบรบในเวียดนาม

เกิดขึ้นเมื่อมีเวียดนามเหนือมีความคิดที่ว่าจะรวมเวียดนามเป็นหนึ่งเดียว ไทยได้ส่งทหารไทยเข้ารบรบกับประเทศที่เป็นพันธมิตร เพื่อป้องกันภัยจากลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยสงครามจบลงด้วยชัยชนะของเวียดนามเหนือ และทหารไทยเสียชีวิต 1,351 นาย

เกิดเมื่อกลุ่มนักศึกษาและประชาชนภายใน บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งกำลังชุมนุมประท้วงเพื่อขับไล่ให้จอมพลถนอม กิตติขจรออกนอกประเทศ ในเหตุการณ์นี้ ตำรวจตระเวนชายแดนนำโดยค่ายนเรศวรจากหัวหิน, กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน ตำรวจ และกลุ่มคนที่ตั้งโดยงบ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) คือ กลุ่มนวพล และกลุ่มกระทิงแดง ได้ใช้กำลังอย่างรุนแรง ทำให้มีผู้ที่บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายเป็นจำนวนมาก

เกิดขึ้นเมื่อเวียดนามยึดเขมรได้สำเร็จ(สงครามกัมพูชา–เวียดนาม) เวียดนามจึงได้มีแผนที่บุกไทยโดยมีจุดประสงค์อยู่ 2 อย่าง คือ ปราบเขมรแดงที่หนีมาไทยและยึดภาคอีสานของไทย

เกิดขึ้นเมื่อลาวได้ยกกำลังเข้ายึดพื้นที่บ้านร่มเกล้า ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก และเกิดปะทะกับกองกำลังทหารพราน 3405 ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 และยึดเนิน 1428 เป็นที่มั่น และสิ้นสุดลงเมื่อ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 หลังจากฝ่ายไทยได้ใช้กองทัพอากาศโจมตีเข้าไปในดินแดนลาว 30-40 กิโลเมตร และฝ่ายลาวโดยนายไกสอน พมวิหาร นายกรัฐมนตรี ได้เจรจาขอหยุดยิงเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 และเสนอให้ถอนกำลังของทั้งสองฝ่ายออกจากกันเป็นระยะ 3 กิโลเมตร

เกิดเมื่อมีวิกฤตในติมอร์ตะวันออก ไทยร่วมกับประเทศอื่นๆ 28 ประเทศ ให้มีกองทัพระหว่างประเทศในติมอร์ตะวันออกหรือ INTERFET เริ่มเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1999 ถึง 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2002

ทหารไทยและทหารอเมริกันในการฝึกคอบร้าโกลด์ในปี 2001

เกิดขึ้นเมื่อกองทัพสหรัฐบุกประเทศอิรัก และประเทศไทยได้ส่งกำลังสนับสนุนกองกำลัง 423 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2003 ซึ่งหลังจากที่ประจำการณ์แล้ว กองกำลังของกองทัพบกไทยได้ถูกโจมตีในเหตุการณ์ระเบิดที่เมืองคาบาลาในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 2003 ซึ่งแรงระเบิดได้ฆ่า 2 ทหารไทย และบาดเจ็บ 5 คนอื่น ๆ ภารกิจของไทยในอิรักได้รับการพิจารณาที่ประสบความสำเร็จและถอนกองกำลังออกในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2004 ภารกิจนี้ถือเป็นเหตุผลหลักที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตัดสินใจที่จะกำหนดให้ประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโตในปี ค.ศ. 2003

เกิดขึ้นเมื่อเกิดเหตุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อสู้โดยเชื้อชาติมลายูและกลุ่มกบฏอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จากยะลา ปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส เหตุการณ์เริ่มรุนแรงในปี ค.ศ. 2004 เมื่อการโจมตีของผู้ก่อการร้ายพลเรือนไทยเชื้อชาติก่อความไม่สงบเพิ่มขึ้น กองทัพไทยในการเปิดการต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อการร้ายโดยใช้อาวุธหนัก

การเกณฑ์ทหาร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติไว้ว่าการป้องกันประเทศเป็นหน้าที่ของพลเมืองไทยทุกคน[11] ชายไทยทุกคนมีหน้าที่รับราชการทหาร โดยชายสัญชาติไทยต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินในปีที่อายุย่างเข้าสิบแปดปี และจักมีสภาพเป็นทหารกองเกิน[12] กองทัพจะเรียกเกณฑ์ทหารกองเกินชายซึ่งมีอายุย่างเข้า 21 ปี[13] โดยจะถูกเรียกมาตรวจเลือกหรือรับเข้ากองประจำการ (ส่วนทหารกองเกินที่เป็นนักศึกษาวิชาทหารจะได้รับการยกเว้นการเรียกเข้ามาตรวจเลือกเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการในยามปกติ[14])

โดยระยะเวลาทำการฝึกอยู่ระหว่าง 6 เดือนถึง 2 ปี ขึ้นอยู่กับระดับคุณวุฒิการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองคุณวุฒิ) การศึกษาวิชาทหาร และการสมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการ หากผู้รับการตรวจเลือกสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี จับได้สลากแดง (ใบแดง) ต้องรับราชการทหารกองประจำการ 1 ปี หรือหากร้องขอสมัครใจโดยไม่จับสลากจะรับราชการทหารกองประจำการ 6 เดือน เป็นต้น ส่วนผู้ที่จับได้สลากดำ (ใบดำ) จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ หรือถ้าทหารกองเกินสมัครเข้าเป็นนักศึกษาวิชาทหารและสำเร็จการศึกษาวิชาทหารในชั้นปีที่ 1 มีสิทธิเข้ารับราชการทหารกองประจำการ 1 ปี 6 เดือน แต่ถ้าเป็นผู้ร้องขอเข้ารับราชในกองประจำการ ก็ให้รับราชการทหารกองประจำการเพียง 1 ปี ถ้าสำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 2 มีสิทธิเข้ารับราชการทหารกองประจำการ 1 ปี แต่ถ้าเป็นผู้ร้องขอเข้ารับราชในกองประจำการ ก็ให้รับราชการทหารกองประจำการเพียง 6 เดือน และถ้าสำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 3 ขึ้นไปให้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุน โดยมิต้องเข้ารับราชการในกองประจำการ[15] และมีหน้าที่ถูกเรียกระดมพลเข้าฝึกวิชาทหารหรือเข้ารับการทดลองความพรั่งพร้อม ในฐานะทหารกองหนุน[16]

ข้อวิพากษ์วิจารณ์

การแทรกแซงการเมืองไทยและความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 กลุ่มนิติราษฎร์จัดการเสวนาวิพากษ์บทบาทกองทัพต่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งพันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย ผู้ร่วมเสวนาคนหนึ่ง ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ทุกครั้งที่มีรัฐประหาร หัวหน้าคณะจะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหัวหน้าคณะ จะเห็นว่าเป็นการเกื้อกูลกันระหว่างกองทัพกับสถาบันพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 คณะใดที่ไม่ได้รับการโปรดเกล้า คณะนั้นก็จะเป็นกบฏ[17]

กองทัพไทยรัฐประหารรัฐบาลรักษาการพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549[18] นอกจากนี้ ยังมีข้อสงสัยว่า ผู้บัญชาการกองทัพไทย อยู่เบื้องหลังการจัดตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551[19] และปรากฏเป็นข่าวว่า รัฐบาลและกองทัพไทยร่วมกันออกคำสั่งให้ทหารใช้อาวุธสงครามเข้าสลายการชุมนุมทางการเมืองของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติสามครั้ง คือ เมื่อวันที่ 13-14 เมษายน พ.ศ. 2552[20], 10 เมษายน[21] และ 13-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[22] เป็นผลให้มีผู้ชุมนุมและประชาชน ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เสียชีวิตเกือบ 100 คน บาดเจ็บกว่า 2,000 คน[23] และยังมีผู้สูญหายอีกไม่ต่ำกว่า 50 คน[24] เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ผู้บัญชาการเหล่าทัพประกาศรัฐประหารรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดอะนิวซีแลนด์เฮรัลด์ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558 ว่า "คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยเพิ่มการฟ้องคดีอาญาความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ไม่ต้องสงสัยว่า คณะทหารฯ จะอ้างว่าเป็นการสนองต่อชาวไทยส่วนใหญ่ซึ่งยังเคารพราชวงศ์ ทว่า ส่วนใหญ่มันชี้ไปยังพันธะซึ่งมาจากการสนับสนุนของพระมหากษัตริย์"[25]

การทุจริต

เอเชียเซนตินัล เขียนว่า กองทัพไทยทุจริตลึกที่สุดกองทัพหนึ่งในทวีปเอเชีย ในคริสต์ทศวรรษ 1980 กองทัพซื้อพาหะบุคคลหุ้มเกราะหลายร้อยคันจากจีนโดยแสงส่องผ่านรอยเชื่อมที่ยึดแผ่นเกราะไว้จนเห็นทหารที่อยู่ภายใน ภรรยาของนายพลระดับสูงคนหนึ่งขณะนั้นเป็นนายหน้าของผู้ค้าอาวุธจีน และกองทัพอากาศไทยเคยซื้อเครื่องบินเจ็ตจีนซึ่งเครื่องยนต์ต่ำกว่ามาตรฐานจนต้องลากไปยังแนวบินเพื่อทะยานขึ้นและลากกลับเมื่อลงจอด เพราะเครื่องยนต์มีอายุเป็นชั่วโมง พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ช่วย ลงนามซื้อเรือเหาะมูลค่า 350 ล้านบาทเพื่อใช้เป็นสถานีตรวจการบนท้องฟ้าจากบริษัทอเมริกัน ชื่อ บริษัทแอเรียลอินเตอร์เนชันแนล ซึ่งดูเหมือนว่าลมรั่วออกจากรอยตะเข็บ ทีแรกใช้เงิน 2.8 พันล้านบาทเพื่อสูบลม และ 280,000 บาทต่อเดือนเพื่อรักษาลมไว้ ปัจจุบัน เรือเหาะเหล่านี้ยังอยู่ในอู่ เมื่อ พ.ศ. 2553 กองทัพซื้อเครื่องมือตรวจจับวัตถุระเบิดมูลค่า 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเจ้าของบริษัทผู้ขายถูกจำคุกในประเทศอังกฤษ แม้สถานทูตสหรัฐเตือนว่าเป็น "ของเด็กเล่น" ไม่มีการปลดหรือฟ้องคดีอาญาต่อนายทหารที่เกี่ยวข้อง[26]

เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 ผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ เจสัน เซป และแอนดรูว์ มาร์แชล ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์สำหรับชุดเรื่องผู้ลี้ภัยโรฮีนจา ซึ่งกล่าวถึงกำลังพลกองทัพเรือไทยลักลอบนำเข้าผู้ลี้ภัยเพื่อกำไร[26] ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 กองทัพได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ จำนวนมาก โดยมีการตอบแทนในรูปแบบเบี้ยประชุม ค่าตอบแทนกรรมการต่าง ๆ รวมถึงการใช้งานทหารชั้นผู้น้อยเพื่อทำงานบ้านในบ้านผู้บังคับบัญชา

กองทัพไทยมีนายพลกว่า 1,400 นาย ซึ่งมากกว่าสหรัฐอเมริกา 400 นาย แต่กองทัพสหรัฐอเมริกาใหญ่เป็น 3 เท่า[26]

การใช้เส้นสาย

วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2559 มีข่าวบรรจุบุตรของพลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นนายทหารยศว่าที่ร้อยตรี โดยพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นผู้ลงนาม พลเอกปรีชาให้สัมภาษณ์ว่า หลายคนในกองทัพก็ทำแบบนี้[27]

การละเมิดสิทธิมนุษยชน

รายงานขององค์การนิรโทษกรรมสากลในปี 2562 อ้างอดีตทหารเกณฑ์ชาวไทย ระบุว่า ในกองทัพไทยมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนทหารเกณฑ์หลายกรณีเป็นเรื่องปกติ เช่น การธำรงวินัยด้วยการทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธ การล่วงละเมิดทางเพศ การลงโทษที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรี รวมทั้งการข่มขืนกระทำชำเราทหารที่เป็นเกย์[28]

ในปี 2565 เกิดกรณีนักศึกษาวิชาทหารที่เข้ารับการฝึกหนักจนต้องเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลกว่า 20 คน ซึ่งในจำนวนนี้ต้องฟอกไต 8 คน[29]

การคว่ำบาตรธุรกิจเอกชน

ในเดือนพฤษภาคม 2565 เกิดกระแส #แบนลาซาด้า โดยทั้งสามเหล่าทัพต่างสั่งห้ามกำลังพลใช้บริการจากลาซาด้าหลังมีโฆษณาที่เข้าข่ายก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์[30] อย่างไรก็ตาม มีคำสั่งยกเลิกการคว่ำบาตรในเดือนต่อมา[31]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, “การปฏิรูปทางการทหาร: การสร้างทหารอาชีพและสถาบันทหารและบทบาทของทหารที่มีต่อความมั่นคงของชาติ”, Crma. J., ปี 8, ฉบับที่ 1, น. 1–16, พ.ค. 2010. (tci-thaijo.org)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๙, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. "ตอนที่ 10 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวสายพระโลหิตบูรพกษัตริย์นักรบ องค์จอมทัพไทย: สวพส". www.hrdi.or.th.
  4. "อำนาจหน้าที่". กองบัญชาการกองทัพไทย. 2018-01-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-11. สืบค้นเมื่อ 2022-04-29.
  5. matichon (2022-03-01). "นายกฯสั่งกองทัพขยาย รพ.สนามทั่ว ปท. จัดกำลังพล 300 นาย หมุนเวียนช่วยสายด่วน 1330". มติชนออนไลน์.
  6. หยู (2022-04-22). "คำสั่ง 'กองทัพไทย' แต่งตั้ง '3 บิ๊กทหาร' คุม 2 สนามบิน".
  7. "18 มกราคม วันกองทัพไทย". mcot.net. 2019-06-24.
  8. 8.0 8.1 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, “การปฏิรูปทางการทหาร: การสร้างทหารอาชีพและสถาบันทหารและบทบาทของทหารที่มีต่อความมั่นคงของชาติ”, Crma. J., ปี 8, ฉบับที่ 1, น. 1–16, พ.ค. 2010. (tci-thaijo.org)
  9. Countries Ranked by Military Strength (2014). สืบค้น 3-9-2557.
  10. Countries Ranked by Military Strength (2016)
  11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก ราชกิจจานุเบกษา 24 สิงหาคม 2550 หน้า 20.
  12. มาตรา 4 (2), มาตรา 16 และ 18 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497
  13. มาตรา 22 ถึง 27 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497
  14. มาตรา 14 (3) แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497
  15. ข้อ 3 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการ พ.ศ. 2497
  16. มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497
  17. "รายงานเสวนา: กองทัพ การเมือง ประชาธิปไตย". ประชาไท. 6 ก.พ. 2554. สืบค้นเมื่อ 9 ต.ค. 2557. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. Thai PM deposed in military coup จากเว็บไซต์ บีบีซีนิวส์, 20 กันยายน พ.ศ. 2549
  19. Thai army to 'help voters love' the government จากเว็บไซต์ เดอะเทเลกราฟ, 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551
  20. Army pressure ends Thai protest จากเว็บไซต์ บีบีซีนิวส์, 14 เมษายน พ.ศ. 2552
  21. killed-thai-red-shirt-protesters/story-e6frg6so-1225852976016 Bullets killed Thai Red-Shirt protesters จากเว็บไซต์ ดิออสเตรเลียน, 13 เมษายน พ.ศ. 2553
  22. Deadly clashes as police besiege Bangkok protesters จากเว็บไซต์ บีบีซีนิวส์, 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
  23. รายงานเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. เก็บถาวร 2010-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
  24. ญาติแจ้งเสื้อแดงหายช่วงการชุมนุม25ราย จากเว็บไซต์ เดลินิวส์ออนไลน์, 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
  25. Editorial: Thai refugee right to push for democracy
  26. 26.0 26.1 26.2 Thailand’s Crooked Army
  27. "พล.อ.ปรีชา" รับตั้งลูกตัวเองเป็นทหาร อ้างเรียนจบต้องมีงานทำ ไม่ผิดปกติ
  28. ""เราก็แค่ของเล่นของพวกเขา" เปิดรายงานการล่วงละเมิดทหารเกณฑ์ในไทย". BBC ไทย. 23 March 2020. สืบค้นเมื่อ 27 March 2021.
  29. "เชื่อต้นเหตุทำ 8 'รด.' หวิด 'ไตวาย' เพราะถูกสั่งลุกนั่ง 200 ครั้ง ประจำ". เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 6 December 2022.
  30. "ใครตอบโต้ลาซาด้าแล้วบ้าง หลังการตลาด "ก้าวล่วงสถาบันฯ"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
  31. "กองทัพบก ยกเลิกแบน "ลาซาด้า" ส่งในค่ายได้ตามเดิม". pptvhd36.com. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น