หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดม ประวิตร
หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดม ประวิตร | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 5 | |
ประสูติ | 28 เมษายน พ.ศ. 2454 |
สิ้นชีพิตักษัย | 1 กันยายน พ.ศ. 2544 (90 ปี) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ราชสกุล | ประวิตร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี |
พระมารดา | หม่อมช้อย ประวิตร ณ อยุธยา |
ศาสนา | พุทธ |
หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดม ประวิตร (28 เมษายน พ.ศ. 2454 — 1 กันยายน พ.ศ. 2544)[1] เป็นนักเขียนชาวไทย พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี ประสูติแต่หม่อมช้อย ประวิตร ณ อยุธยา ทรงใช้นามปากกาว่า ดวงดาว และบังใบ มีผลงานที่มีชื่อเสียง อาทิ "ผยอง", "เชลยศักดิ์", "เคหาสน์สีแดง" และ "ม่านไฟ" เป็นต้น
พระประวัติ
[แก้]หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดม ประวิตร เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี กับแต่หม่อมช้อย ประวิตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม กัลยาณมิตร)[2] ธิดาเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ประสูติเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2454 มีโสทรภาดาสององค์ คือ หม่อมเจ้าสีหวิลาศ ประวิตร และหม่อมเจ้ากวีวิศิษฐ์ ประวิตร
หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดมทรงเข้ารับการศึกษาชั้นต้นในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ภายหลังพระบิดาทรงจ้างครูแหม่มมาสอนพิเศษ ณ วังราชสกุลประวิตร เชิงสะพานเทเวศร์
(ปัจจุบันคือตลาดจันทร์ประวิตร) พร้อมกับทรงศึกษาดนตรีจนมีความเชี่ยวชาญทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล และโปรดกีฬาทรงม้า
หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดมโปรดการอ่านหนังสือตั้งแต่ยังทรงเยาว์ และเป็นแรงบันดาลทัยให้นิพนธ์นิยายต่าง ๆ ในเวลาต่อมา เมื่อชันษาได้ 17 ปี ทรงสนิทสนมกับหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ (ชันษา 23 ปี) พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งประทับที่วังใกล้กัน หม่อมเจ้าอากาศดำเกิงทรงกราบทูลให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงสู่ขอหม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดมมาเป็นชายาต่อหม่อมช้อยให้[3] เมื่อปี พ.ศ. 2471 แต่ทรงปฏิเสธเนื่องจากมิได้ทรงมีจิตปฏิพัทธ์ด้วย[4]
ในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมี่อ พ.ศ. 2469 หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดม ได้เชิญจั่นหมากทอง ในพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2469 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)[5]
งานนิพนธ์
[แก้]หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดมนิพนธ์นวนิยายเรื่องแรกเมื่อปี พ.ศ. 2478 ขณะชันษาได้ 24 ปี โดยใช้นามปากกาว่า "ดวงดาว" โดยทรงให้เหตุผลว่าโปรดที่จะทอดเนตรดวงดาวในยามค่ำคืน เพราะดูแล้วน่ารักดี แต่เมื่อทรงส่งเรื่อง "คำอธิษฐานของดวงดาว" ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจวันอาทิตย์ นามปากกาได้กลายเป็น "บังใบ" ซึ่งมาลัย ชูพินิจ เป็นผู้ตั้งถวายโดยความเข้าใจผิด ชื่งต่อมาในภายหลังทรงเปลี่ยนมาใช้นามปากกา "ดวงดาว" ตลอดมา และมีผลงานติดต่อมาหลายเรื่อง เช่น นวนิยายเรื่อง "ผยอง", "เชลยศักดิ์" และ "เคหาสน์สีแดง"
หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดมมีจริยวัตรรักสวยรักงาม และมีอารมณ์ขัน โปรดการประพาสต่างจังหวัด เสด็จไปในที่ที่ไม่เจริญ เพื่อทอดเนตรความเป็นอยู่ของชาวบ้าน นำมาเป็นข้อมูลในงานนิพนธ์ เรื่องสั้นต่าง ๆ โดยมีหม่อมราชวงศ์วงศ์ศิริ กฤดากร เป็นพระสหายสนิทที่โปรดที่สุด
หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดมทรงหยุดนิพนธ์นวนิยายในปี พ.ศ. 2508 เพราะไม่ทรงเห็นด้วยกับนิตยสารบางเล่ม ที่ให้ผู้อ่านทายชื่อนักประพันธ์ในนิยายที่ไม่ลงชื่อผู้แต่ง[6] แต่ยังนิพนธ์เรื่องสั้นบ้าง เรื่องสุดท้ายที่นิพนธ์ คือ เรื่อง "อดีตที่รัก" ซึ่งเป็นพระประวัติเมื่อครั้งทรงเยาว์ พิมพ์เป็นหนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงเหมือนจันทร์ ประวิตร (พี่สะใภ้) ซึ่งนิพนธ์ในปี พ.ศ. 2529
หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดมทรงได้รับการประกาศเกียรติคุณจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ได้รับรางวัลนราธิปครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2544[7]
หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดม ประวิตร สิ้นชีพิตักษัยด้วยพระอาการเส้นโลหิตในสมองตีบ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2544 ณ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สิริชันษา 90 ปี นับเป็นหม่อมเจ้าองค์สุดท้ายของราชสกุลประวิตร
ภายหลังจากสิ้นชีพิตักษัย กระทรวงวัฒนธรรมได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติหม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดม ประวิตร (ดวงดาว) เป็น "บูรพศิลปิน" เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559[8]
ผลงาน
[แก้]
|
|
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของหม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดม ประวิตร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2548. 136 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-746-7
- ↑ พิมาน แจ่มจรัส. รักในราชสำนัก. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2544. 448 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-341-064-3
- ↑ ประทีป เหมือนนิล. 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น, 2542. หน้า 479. ISBN 974-8267-78-4
- ↑ ประกาศกระทรวงวัง เรื่อง การประดับเสมาบรมราชาภิเษก วันที่ 16 มกราคม 2469 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/3718.PDF
- ↑ พระประวัติ หม่อมเจ้าหญิงสวาสดิ์วัฒโนดม ประวิตร เก็บถาวร 2009-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ชุมนุมนักเขียนไทย
- ↑ "รายพระนามและรายนามผู้ได้รับรางวัลนราธิป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-11. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-17. สืบค้นเมื่อ 2020-10-15.