พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)
มหาอำมาตย์โท พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) | |
---|---|
เกิด | 8 เมษายน พ.ศ. 2400 เมืองระนอง ประเทศสยาม |
ถึงแก่กรรม | 10 เมษายน พ.ศ. 2456 (56 ปี) บ้านจักรพงษ์ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย |
ภรรยาเอก | Lim Kim Teen |
บุตร | หลวงบริรักษ์โลหวิสัย (คอยู่จ๋าย) |
บิดามารดา |
|
มหาอำมาตย์โท พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) (จีน: 許心美; พินอิน: Xū Xīnměi "ซวี ซินเม่ย์"; เป่อ่วยยี: Khó͘ Sim-bí "คอ ซิมบี๊", 8 เมษายน พ.ศ. 2400 – 10 เมษายน พ.ศ. 2456) เป็นข้าราชการชาวไทย ระหว่างเป็นเจ้าเมืองตรัง ได้พัฒนาเมืองให้เจริญก้าวหน้าจนกลายเป็นเมืองเกษตรกรรม จึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต และเป็นผู้ได้รับพระราชทานนามสกุล ณ ระนอง
ประวัติ
[แก้]คอซิมบี๊ ณ ระนอง เกิดที่ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดระนองเมื่อวันพุธ ขึ้น 14 เดือน 5 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2400 เป็นบุตรคนสุดท้องของพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ณ ระนอง) ซึ่งเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาอยู่เมืองไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 3 และนางกิม ณ ระนอง ชื่อ "ซิมบี๊" เป็นภาษาฮกเกี้ยน แปลว่า "ผู้มีจิตใจดีงาม" เมื่ออายุได้ 9 ปี ได้ติดตามบิดาเดินทางกลับไปประเทศจีนและอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 2 ปี ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และได้ดูแลกิจการแทนบิดา ทั้ง ๆ ที่มิได้เรียนหนังสือ มีความรู้หนังสือเพียงแค่ลงลายมือชื่อตนได้เท่านั้น แต่มีความสามารถพูดได้ถึง 9 ภาษา บิดาจึงหวังจะให้สืบทอดกิจการการค้าแทนตน มิได้ประสงค์จะให้รับราชการเลย
บิดาถึงแก่กรรมขณะคอซิมบี๊อายุได้ 25 ปี พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก้อง ณ ระนอง) ผู้เป็นพี่ชาย (ต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็น พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลชุมพร) ได้นำเข้ารับราชการเป็นครั้งแรก โดยเข้าเฝ้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงบริรักษ์โลหวิสัย ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนอง ต่อมา ได้เลื่อนเป็นผู้ว่าราชการเมืองกระบุรี บรรดาศักดิ์ พระอัษฎงคตทิศรักษา ถือศักดินา ๓๐๐๐ เมื่อวันอังคาร เดือน 12 ขึ้น 11 ค่ำ ปีระกาสัปตศก จุลศักราช 1247 ตรงกับปี 2428[1]แล้วได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ถือศักดินา ๓๐๐๐ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2433 [2] ทั้งนี้ เนื่องจากราษฎรชาวตรังได้ยื่นฎีกาถวายความว่า เจ้าเมืองตรังคนก่อนคือ พระยาตรังคภูมิภาบาล (เอี่ยม ณ นคร) กดขี่ข่มเหงราษฎรทั้งที่สภาพเศรษฐกิจไม่ดี
พระยารัษฎานุประดิษฐ์ เมื่อรับตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ได้พัฒนาปรับปรุงสภาพหลายอย่างในเมืองตรังให้เจริญรุ่งเรืองหลายอย่าง ด้วยกุศโลบาลส่วนตัวที่แยบยล เช่น การตัดถนนที่ไม่มีผู้ใดเหมือน รวมทั้งส่งเสริมชาวบ้านให้กระทำการเกษตร เช่น ให้เลี้ยงไก่โดยบอกว่า เจ้าเมืองต้องการไข่ไก่ ให้เอากาฝากออกจากต้นไม้ โดยบอกว่าเจ้าเมืองต้องการเอาไปทำยา ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกกาแฟ และยางพารา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการนำยางพารามาปลูกที่ภาคใต้ จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเช่นในปัจจุบัน
ในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย ได้จัดตั้งกองโปลิศภูธรขึ้นแล้วซื้อเรือกลไฟไว้เป็นพาหนะตรวจลาดตระเวน บังคับให้ทุกบ้านเรือนต้องมีเกราะตีเตือนภัยไว้หน้าบ้าน หากบ้านใดได้ยินเสียงเกราะแล้วไม่ตีรับจะมีโทษ เป็นต้น
พระยารัษฎานุประดิษฐ์มีวิธีการบริหารปกครองแบบไม่มีใครเหมือน โดยใช้หลักเมตตาเหมือนพ่อที่มีต่อลูก เช่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามนโยบายก็จะถูกลงโทษอย่างหนัก แต่การลงโทษนั้นให้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนผู้นั้น เช่น ให้ไปทำนา เป็นต้น ชาวบ้านถือมีดพร้าผ่านมาก็จะขอดู ถ้าพบว่าขึ้นสนิมก็จะดุกล่าวตักเตือน แม้แต่ข้าราชการก็อาจถูกตีศีรษะได้ต่อหน้าธารกำนัลถ้าทำผิด หรือแม้กระทั่งดูแลให้ชาวบ้านสวมเสื้อเวลาออกจากบ้าน
พระยารัษฎานุประดิษฐ์ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรังนาน 11 ปี ในปี พ.ศ. 2444 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต รับผิดชอบดูแลหัวเมืองตะวันตก ตั้งแต่ภูเก็ต ตรัง กระบี่ พังงา ตะกั่วป่า ระนอง และสตูล มีผลงานเป็นที่เลื่องลือไปถึงหัวเมืองมลายูและปีนัง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี แต่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ได้ปฏิเสธ จึงได้ทรงจะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งพระยารัษฎาฯ ก็ได้ปฏิเสธไปอีกอย่างนิ่มนวล โดยขอเป็นเพียงสมุหเทศาภิบาล มณฑลภูเก็ต เช่นเดิมต่อไป จากนั้น จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสายสะพายช้างเผือกชั้นที่ 1 และทรงถือว่า พระยารัษฎาฯ เป็นพระสหาย สามารถห้อยกระบี่เข้าเฝ้าฯ โดยพระบรมราชานุญาตพิเศษ
พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2456[3] ณ บ้านจักรพงษ์ ปีนัง ด้วยสาเหตุเจ็บป่วยจากการถูกหมอจันทร์ หรือ นายเรือเอก จันทร์ บริบาล[4] หมอทหารเรือคนสนิทยิงเข้าที่แขน[5]: 44 พร้อมกับพระสถลสถานพิทักษ์ (คอยู่เกียด ณ ระนอง) หลานชายซึ่งถูกยิงเข้าที่ขาด้วยปืนบราวนิง[5]: 44 ที่ท่าเทียบเรือกันตัง เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 สิริอายุได้ 56 ปี นายแพทย์เยซี แบทซ์ เบิกความยืนยันว่า พระยารัษฎานุประดิษฐ์ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคประจำตัว ไม่ใช่เหตุที่ถูกกระสุนปืน แต่เหตุที่ถูกกระสุนปืนนั้นเป็นต้นเหตุให้ถึงแก่อนิจกรรมเร็วกว่าโรคที่เป็นอยู่[5]: 45 ส่วนหมอจันทร์ถูกศาลพิพากษาให้ประหารชีวิตตาม คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๖ (พ.ศ. ๒๔๕๗) ฐานฆ่าพระสถลสถานพิทักษ์ (คอยู่เกียด ณ ระนอง) โดยเจตนา[5]: 45 เรื่องเล่าเหตุการณ์ฆาตกรรมของหมอจันทร์มีบันทึกอยู่ในวรรณกรรมชื่อ บทแหล่หมอจันทร์ หรือ แหล่เทศน์หมอจันทร์[4]
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]เมื่ออนิจกรรม หลวงบริรักษ์โลหวิสัย (คอยู่จ๋าย) บุตรชายได้รับหนังสือแสดงความเสียใจจากบุคคลต่าง ๆ รวมถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีใจความว่า
เรามีความเศร้าสลดอย่างยิ่งในอนิจกรรมของบิดาเจ้า ผู้ซึ่งเรายกย่องอย่างสูง ไม่เฉพาะที่เป็นข้าราชการเท่านั้น แต่ยังถือว่าเป็นเพื่อนผู้หนึ่ง ซึ่งเราเศร้าสลดที่ต้องสูญเสียไปเช่นนั้น จงรับความเศร้าสลดและเห็นใจอย่างแท้จริงจากเราด้วย
ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2456 หนังสือพิมพ์ สเตรตส์ เอโก และหนังสือพิมพ์ปีนังกาเซ็ต ที่ตีพิมพ์ในปีนังก็ได้ลงบทความไว้อาลัยต่อการจากไปของพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี พร้อมทั้งยกย่องว่าเป็นสมุหเทศาภิบาลที่ยอดเยี่ยมมมาก ยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือนทั้งในอดีตและอนาคต
วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โปรดฯ ให้พระยามหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิรยศิริ) รองเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และคณะบุคคลเชิญพวงมาลา เครื่องขมาศพ และเครื่องเกียรติยศ ไปพระราชทานศพพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ในการฝังศพที่จัดขึ้นที่เมืองระนอง ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2456[6]
ปัจจุบัน อนุสาวรีย์ของพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี ตั้งอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลนครตรัง ห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร และอยู่บนเขารัง จังหวัดภูเก็ต
สมัญญานาม
[แก้]พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งยางพาราไทย[7]: 347 ซึ่งเขากับพระสถลสถานพิทักษ์ (คอยู่เคียด ณ ระนอง) หลานชาย เป็นผู้นำเมล็ดยางพารามาปลูกในประเทศไทยเป็นคนแรก[8]: 72 โดยลอบนำเมล็ดยางจากหัวเมืองมลายู (ภายใต้การปกครองของอาณานิคมอังกฤษ) นำมาห่อสำลีชุบน้ำบรรจุประป๋องขนมแคร็กเกอร์ลงเรือกลับเมืองตรัง[8]: 72
เมื่อ พ.ศ. 2547 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เสนอให้วันที่ 10 เมษายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันถึงแก่อนิจกรรมของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็น วันยางพาราแห่งชาติ ให้ถือเป็นวันสำคัญแห่งชาติของทุกปีเพื่อเป็นอนุสรณ์[9]: 322
รศ.ประพนธ์ เรืองณรงค์ ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ได้แต่งบทร้อยกรองเรื่อง ใครนำยางพารามาสู่ถิ่น? เพื่อสดุดีบิดาแห่งยางพาราของประเทศไทย[8]: 80
ตัวอย่างคำประพันธ์ (บางส่วน)
๏ ใครนำยางพารามาสู่ถิ่น | บุกเบิกดินแดนตรังสะพรั่งผล | |
สารน้ำยางยังไหลให้ปวงชน | เล่ห์เลือดข้นคนตรังหวังเรืองรอง |
ใครปลุกใจชาวตรังเหมือนดังพ่อ | ที่เกื้อก่ออารยธรรมนำสนอง | |
ทุกอาชีพทุกด้านการปกครอง | เด่นลำยองผลสถิตเป็นนิจมา |
๏ ท่านเป็นใครชาวตรังเรายังซึ้ง | ท่านเป็นถึง "สมุหเทศาฯ" | |
ท่านมียศสูงขั้นชั้นพระยา | "รัษฎามหิศรฯ" ขจรนาม |
อนุสาวรีย์มิ่งขวัญเราวันนี้ | เด่นคนดีศรีตรังคนยังขาม | |
จากคนจริงทําจริงสิ่งงดงาม | เราควรตามเทิดตามกตัญญู ฯ | |
— รศ.ประพนธ์ เรืองณรงค์ |
บรรดาศักดิ์
[แก้]- มหาดเล็ก ในรัชกาลที่ 5[10]: 210
- หลวงบริรักษ์โลหวิสัย (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) ผู้ช่วยราชการเมืองระนอง ศักดินา 500[11]: 62
- พระอัษฎงคตทิศรักษา (พระกระบุรี)[10]: 210 [12]: 597 ผู้ว่าราชการเมืองกระบุรี ศักดินา 3000[11]: 149
- มหาอำมาตย์โท พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต[10]: 210 ศักดินา 3000
นามสกุล ณ ระนอง
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[14]
- พ.ศ. 2453 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[15]
- พ.ศ. 2451 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[16]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[17]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)[18]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
มรดก
[แก้]- อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) จังหวัดตรัง (เดิมเป็นที่ตั้งตำหนักผ่อนกาย)[19]: 83
- หอเกียรติยศ ๑๐๐ ปี พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) สวนสาธารณะเขารัง จังหวัดภูเก็ต[20]
- พิพิธภัณฑ์บ้านพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) หรือ ควนรัษฎา[19]: 83
- ถนนคอซิมบี้ (Khaw Sim Bee Rd.) สี่แยกเขารัง ต. รัษฎา อ.เมือง จังหวัดภูเก็ต[21]
- ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย พ.ศ. 2442 อ.กันตัง จังหวัดตรัง[8]: 67 [22]: 32
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ "สำเนาสัญญาบัตรหัวเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "พระราชทานสัญญาบัตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (ง): 151. 20 เมษายน 1913. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2016.
- ↑ 4.0 4.1 ชวน เพชรแก้ว. (2554). "วรรณกรรมทักษิณ : หลักฐานสำคัญของภาคใต้ ที่ท้าทายการศึกษา", วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 36(4): 568. (ตุลาคม-ธันวาคม 2554).
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 นุสรณ์ รัษฎา. (2524). "ประวัติเจ้าคุณเทศา คอซิมบี้ มณฑลภูเก็ต บทบาทของผู้นำชาวใต้ในอดีต", วารสารรูสมิแล, 5(2). (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2524). อ้างใน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๖ (พุทธศก ๒๔๕๗) ลงวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๗.
- ↑ "ข่าวฝังศพ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (ง): 441. 1 มิถุนายน 1913. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2016.
- ↑ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. (2549). นามานุกรมพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 400 หน้า. ISBN 978-9-744-25049-0
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2541). มาลีศรีตรัง: สารคดีจากเมืองใต้. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า. 216 หน้า. ISBN 978-9-746-04118-8
- ↑ ชนาวุธ บริรักษ์. (2565). ความทรงจำใต้อำนาจ: รัฐ ราชวงศ์ พลเมือง และการเมืองบนหน้าปฏิทิน. กรุงเทพฯ: มติชน. 408 หน้า. ISBN 978-974-02-1770-1
- ↑ 10.0 10.1 10.2 กรมศิลปากร. (2532). ถลาง ภูเก็ต และทะเลฝั่งทะเลอันดามัน โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์และเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. ISBN 974-7936-65-8
- ↑ 11.0 11.1 กองหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร. (2521). การแต่งตั้งขุนนางไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 410 หน้า.
- ↑ พิชัย วาสิงหนท์. (2522). สยามานุสรณ์. กรุงเทพฯ: สัตยการพิมพ์. 696 หน้า.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๕๕, ๒๗ ตุลาคม ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๓๕, ๒๒ มกราคม ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๕๘, ๒ ตุลาคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๐, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๓, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญรัตนาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๒๒, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
- ↑ 19.0 19.1 สุนทรี สังข์อยุทธ์ และเทศบาลนครตรัง. (2549). แลหลัง... เมืองตรัง ใตัร่มพระบารมี. กรุงเทพฯ: เวิร์คพอยท์ พับลิชชิ่ง. 127 หน้า. ISBN 978-9-744-58116-7
- ↑ ๒๕ มกราคม ได้ฤกษ์เปิดหอเกียรติยศ ๑๐๐ ปี พระยารัษฎานุประดิษฐ์ฯ (ลานชมเมือง สวนสาธารณะเขารัง). เทศบาลนครภูเก็ต. (22 มกราคม 2559). สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566.
- ↑ ประสิทธิ ชิณการณ์. (2526). ยอดนารีศรีถลาง. ภูเก็ต: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต. 51 หน้า.
- ↑ วิรัช ถิรพันธุ์เมธี. (2536). พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) : เพชรน้ำหนึ่งของกระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 75 หน้า. ISBN 978-9-745-75251-1
- บรรณานุกรม
- บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ โดย tv5.co.th เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ดนัย ไชยโยธา. นามานุกรมประวัติศาสตร์. [ม.ป.ท.] : โอเดียนสโตร์, 2548. ISBN 974-971-297-8
- ยืนหยัด ใจสมุทร. '. ตรัง : สำนักพิมพ์มติชน, 2539. ISBN 974-7115-60-3
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2400
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2456
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- ชาวไทยเชื้อสายฮกเกี้ยน
- บุคคลจากจังหวัดระนอง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- สกุล ณ ระนอง
- เจ้าเมืองตรัง
- สมาชิกกองเสือป่า
- ชาวไทยที่เสียชีวิตในประเทศมาเลเซีย
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- บุคคลจากโรงเรียนสตูลวิทยา