ข้ามไปเนื้อหา

กรณีสีน้ำเงิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรณีสีน้ำเงิน
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง

กองทัพเยอรมันในช่วงฤดูร้อน 1942
วันที่28 มิถุนายน – 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942
(4 เดือน 3 สัปดาห์ 6 วัน)
สถานที่
ผล ฝ่ายอักษะล้มเหลวทางยุทธศาสตร์
คู่สงคราม
 สหภาพโซเวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
ขั้นต้น: 1,715,000 นาย[6]
1,000,000 นาย(สำรอง)
รถถัง 2,959–3,720 คัน[7][6]
อากาศยาน 1,671 ลำ[8]
ปืนใหญ่ 16,500 กระบอก[6]
รวม:
2,715,000 นาย
ความสูญเสีย
นาซีเยอรมนี:
200,000 นาย[9]
รถถังถูกทำลาย 700 คัน[9]
ราชอาณาจักรโรมาเนีย:
ไม่ทราบ
ราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1946):
ไม่ทราบ
  • 1,200,000 นาย[9]
  • รถถังถูกทำลาย 4,862 คัน[9]

กรณีสีน้ำเงิน (อังกฤษ: Case Blue; เยอรมัน: Fall Blau) เป็นชื่อแผนการของกองทัพเยอรมันสำหรับการรุกทางยุทธศาสตร์ในช่วงฤดูร้อนของ ค.ศ. 1942 ในพื้นที่ตอนใต้ของรัสเซียระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีเป้าหมายคือการยึดครองแหล่งน้ำมันดิบในบากู (ซึ่งอยู่ในดินแดนของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอาเซอร์ไบจาน) กรอซนืย และมัยคอป โดยมีวัตถุประสงค์อยู่สองประการ คือเพื่อให้เยอรมนีสามารถจัดหาและสำรองเชื้อเพลิงได้ ในกรณีที่เชื้อเพลิงนั้นเริ่มขาดแคลน และสามารถปฏิเสธการส่งเชื้อเพลิงไปให้กับสหภาพโซเวียตได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการล่มสลายของสงครามโซเวียตอย่างสมบูรณ์

ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการสืบเนื่องของปฏิบัติการบาร์บาร็อสซาในปีที่แล้ว ด้วยความตั้งใจที่จะโค่นล่มสหภาพโซเวียตออกจากสงคราม มันได้มีความเกี่ยวข้องกับการโจมตีแบบสองง่ามของฝ่ายอักษะ: หนึ่งคือกองทัพปีกขวาจะเข้าโจมตีแหล่งบ่อน้ำมันที่บากู ที่เป็นที่รู้จักกันคือ ปฏิบัติการเอดดัลไวส์ (Operation Edelweiss) และสองคือกองทัพปีกซ้ายจะเคลื่อนทัพตรงเข้าไปสู่เมืองสตาลินกราดตามแนวแม่น้ำวอลกา ที่เป็นที่รู้จักกันคือ ปฏิบัติการฟิชไชเออร์ (Operation Fischreiher)[10]

กองทัพกลุ่มใต้(Heeresgruppe Süd) ของกองทัพบกเยอรมันได้ถูกแบ่งแยกออกมาเป็นกองทัพกลุ่มเอและบี (Heeresgruppe A and B) กองทัพกลุ่มเอได้รับมอบหมายให้ข้ามเทือกเขาคอเคซัสไปยังแหล่งบ่อน้ำมันที่บากู ในขณะที่กองทัพกลุ่มบีจะปกป้องปีกตามแนวแม่น้ำวอลกา ได้รับการสนับสนุนโดยเครื่องบินรบจากลุฟท์วัฟเฟอ 2,035 ลำ และรถถังและปืนใหญ่จู่โจมจำนวน 1,934 คัน ทหารจำนวน 1,370,287 นายของกองทัพกลุ่มใต้ได้เข้าโจมตีเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน รุกไปได้ถึง 48 กิโลเมตรของวันแรกและกวาดล้างอย่างง่ายดายต่อทหารฝ่ายตรงข้ามของกองทัพแดงจำนวน 1,715,000 นายที่คาดการณ์ผิดว่าเยอรมันจะรุกเข้าสู่กรุงมอสโก แม้ภายหลังจากกรณีสีน้ำเงินจะเริ่มขึ้น โซเวียตล่มสลายในทางตอนใต้ทำให้เยอรมันเข้ายึดครองทางด้านตะวันตกของเมืองโวโรเนช เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน และได้มาถึงและก้าวข้ามแม่น้ำดอนใกล้กับเมืองสตาลินกราด เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม การเข้าประชิดเมืองสตาลินกราดของกองทัพกลุ่มบีได้ล่าช้าในปลายเดือนกรกฎาคมและต้นเดือนสิงหาคม เนื่องจากถูกตีโต้กลับอย่างต่อเนื่องโดยกองกำลังสำรองของกองทัพแดงที่เพิ่งจัดทัพขึ้นมาใหม่ๆ และสายส่งเสบียงของเยอรมันที่เกินขีดความสามารถ เยอรมันได้เอาชนะต่อโซเวียตในยุทธการที่คาลัสและการสู้รบที่เปลี่ยนมาเป็นในตัวเมืองในปลายเดือนสิงหาคม  การโจมตีทางอากาศอย่างไม่หยุดหย่อนของลุฟท์วัฟเฟอ การยิงปืนใหญ่ และการสู้รบบนถนนต่อถนนทำให้เมืองถูกทำลายอย่างสมบูรณ์และก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างรุนแรงต่อกองกำลังฝ่ายตรงข้าม หลังสามเดือนของการสู้รบ เยอรมันได้เข้าควบคุมเมืองสตาลินกราดเพียง 90% เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน

ในทางตอนใต้ กองทัพกลุ่มเอได้เข้ายึดเมืองรอสตอฟ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม และกวาดล้างทางตอนใต้จากแม่น้ำดอนไปจนถึงเทือกเขาคอเคสัส เข้ายึดครองแหล่งบ่อน้ำมันที่ถูกทำลายที่ไมคอฟ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม และอิลิซตา เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ใกล้กับชายฝั่งทะเลแคสเปียน การต่อต้านอย่างหนักของโซเวียต ปฏิบัติการก่อวินาศกรรมของชาวโปแลนด์ในเขตยึดครองโปแลนด์ และระยะทางไกลจากแหล่งส่งเสบียงของฝ่ายอักษะได้ลดทอนต่อการรุกของฝ่ายอักษะที่เข้าไปในแค่พื้นที่ท้องถิ่นเท่านั้น และขัดขวางไม่ให้เยอรมันเข้าถึงเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ในการเข้ายึดบ่อน้ำมันหลักบนเทือกเขาคอเคซัสที่บากู เครื่องทิ้งระเบิดของจากลุฟท์วัฟเฟอได้ทำลายบ่อน้ำมันที่กรอซนี แต่การโจมตีที่บากูนั้นได้ถูกขัดขวางโดยระยะพิสัยที่ไม่เพียงพอต่อเครื่องบินขับไล่เยอรมัน

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้กังวลเกียวกับความเป็นไปได้ที่กองทัพเยอรมันยังดำเนินต่อไปในทางตอนใต้และตะวันออกและเชื่อมโยงกับกองทัพญี่ปุ่น(เมื่อได้เข้ารุกในพม่า)ในอินเดีย อย่างไรก็ตาม กองทัพแดงได้เอาชนะเยอรมันที่เมืองสตาลินกราดด้วยปฏิบัติการยูเรนัสและลิตเติลแซเทิร์น ความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ได้บีบบังคับให้ฝ่ายอักษะต้องถอนกำลังออกจากคอเคซัส มีเพียงภูมิภาคคูบานที่ยังคงถูกครอบครองโดยกองกำลังทหารฝ่ายอักษะ[11][12]

หมายเหตุ

[แก้]

a ตอนที่ฟ็อน ไคลสท์รับหน้าที่ต่อ กองทัพกลุ่ม อา อยู่ภายใต้คำสั่งโดยตรงของ OKH จากวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1942 ถึง 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942
b ใช่ว่ารถถังทั้งหมดพร้อมใช้งานในช่วงต้นของการรุก เนื่องจากผ่านการซ่อมแซม การสู้รบ ดัดแปลง หรือไม่ปรากฏในสนามรบ[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Holt (2009), p. 47.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Liedtke 2016, p. 228.
  3. Gabor Aron Study Group. "Hungary in the Mirror of the Western World 1938–1958". Archived from the original on 2007-11-09. Retrieved 2008-09-22.
  4. 4.0 4.1 Antill (2007), pp. 24–25.
  5. Hayward (2001), p. 129.
  6. 6.0 6.1 6.2 Liedtke 2016, p. 230.
  7. Antill (2007), p. 29.
  8. Bergström 2007, pp. 49–50.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Mercatante 2012, p. 151.
  10. Antill (2007), p. 40.
  11. Nipe (2000), p. 33.
  12. Antill (2007), pp. 87–88.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Antill, Peter (2007). Stalingrad 1942. Oxford: Osprey Publishing. ISBN 978-1-84603-028-4.
  • Axworthy, Mark (September–October 1999). "Flank Guard: Romania's Advance on Stalingrad, Part Two". Air Enthusiast (65): 72–75. ISSN 0143-5450.
  • Axworthy, Mark; Scafes, Cornel; Craciunoiu, Cristian (1995). Third Axis Fourth Ally: Romanian Armed Forces in the European War, 1941–1945. London: Arms & Armour Press. ISBN 1-85409-267-7.
  • Beevor, Antony (1999). Stalingrad: The Fateful Siege: 1942–1943. London: Penguin Books. ISBN 0-14-028458-3.
  • Bellamy, Chris (2007). Absolute War: Soviet Russia in the Second World War. London: Pan Books. ISBN 978-0-330-48808-2.
  • Bergström, Christer (2007). Stalingrad – The Air Battle: November 1942 – February 1943. London: Chevron/Ian Allan. ISBN 978-1-85780-276-4.
  • Forczyk, Robert (2021). Stalingrad 1942 – 43 (I): The German Advance to the Volga. Oxford: Osprey. ISBN 978-1-47284-265-7.
  • Glantz, David M.; Jonathan M. House (2009). To the Gates of Stalingrad: Soviet-German Combat Operations, April–August 1942. The Stalingrad Trilogy. Vol. I. Lawrence, KS: University Press of Kansas. ISBN 978-0-7006-1630-5.
  • Glantz, David M. (1995). When Titans Clashed: How the Red Army Stopped Hitler. Lawrence, KS: University Press of Kansas. ISBN 0-7006-0899-0.
  • Hayward, Joel (1995). Too Little Too Late: An Analysis of Hitler's Failure in 1942 to Damage Soviet Oil Production. Lawrence, KS: The Journal of Strategic Studies, Vol. 18, No. 4, pp. 94–135.
  • Hayward, Joel (2001). Stopped at Stalingrad: The Luftwaffe and Hitler's Defeat in the East, 1942–1943. Lawrence, KS: University Press of Kansas. ISBN 0-7006-1146-0.
  • Holt, David (June 2009). "The Slovak Army: 1939 – 1945 Part 2: The Russian Campaign 1940 – 43" (PDF). Journal of the Czechoslovak Philatelic Society of Great Britain. 27 (2). ISSN 0142-3525. สืบค้นเมื่อ 18 February 2014.
  • Javrishvili K., Battle of Caucasus: Case for Georgian Alpinists, Translated by Michael P. Willis, 2017.
  • Liddell Hart, Basil Henry (1948). The German Generals Talk. New York: Morrow. ISBN 0688060129.
  • Liedtke, Gregory (2016). Enduring the Whirlwind: The German Army and the Russo-German War 1941-1943. Helion and Company. ISBN 978-0-313-39592-5.
  • Mercatante, Steven (2012). Why Germany Nearly Won: A New History of the Second World War in Europe. Praeger. ISBN 978-1910777756.
  • Nipe, George M. Jr. (2000). Last Victory in Russia: The SS-Panzerkorps and Manstein's Kharkov Counteroffensive—February–March 1943. Atglen, PA: Schiffer Publishing. ISBN 0-7643-1186-7.
  • Schramm, Percy Ernst (1963). Kriegstagebuch des Oberkommandos der Wehrmacht, 1940–1945 Teilband II. Bonn: Bernard & Graefe Verlag für Wehrwesen.
  • Wegner, Bernd (1990). "Der Krieg gegen die Sowjetunion 1942/1943 [The war against the Soviet Union 1942/43]". ใน Boog, Horst; Rahn, Werner; Stumpf, Reinhard; Wegner, Bernd (บ.ก.). Der globale Krieg: Die Ausweitung zum Weltkrieg und der Wechsel zur Initiative 1941 bis 1943 [The Global War: The expansion of the war into a world war and the change of initiative]. Germany and the Second World War (ภาษาเยอรมัน). Vol. VI. Militärgeschichtliches Forschungsamt. Deutsche Verlags-Anstalt. pp. 761–1094. ISBN 3-421-06233-1.